วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โรคหอบหืด(Asthma)



โรคหอบหืด(Asthma)
        โรคหอบหืด(Asthma) คืออะไร
        โรคหืดหรือโรคหอบหืดหรือ Asthma  คือโรค ที่มีการอักเสบเรื้อรังของ หลอดลม  ทำให้หลอดลมมี ความไวต่อการถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้หรือตัวกระตุ้น ต่างๆ  เมื่อถูกกระตุ้นหลอดลมจะมีการตีบแคบลง เนื่อง จากมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ  มีการสร้างเสมหะ มากขึ้นร่วมกับการบวมและหลุดลอกของเยื่อบุหลอด ลมที่ตีบแคบอาจดีขึ้นได้เองหรือดีขึ้นด้วยยาขยาย หลอดลม  โรคหืดเป็นโรคที่ไม่หายขาดแต่จะมีอาการ ดีขึ้น หรือแย่ลงเป็นๆ หายๆ  บางคนก็นานๆ เป็นครั้ง เวลาเป็นหวัด  ในขณะที่บางคนก็เป็นบ่อยหรือเป็น ตลอดเวลา  มีข้อมูลว่าผู้ป่วยโรคหืดจะมีการอักเสบของ หลอดลม เกือบตลอดเวลาแม้จะไม่มีอาการ  การอักเสบ นี้ถ้ามีความรุนแรงอาจนำไปสู่การทำลายหลอดลมอย่าง ถาวรได้ 
    โรคนี้ต่างกับโรคอื่น ๆ คนไข้บางคนเป็นน้อย บางคนเป็นมาก อาจเสียชีวิตได้ ภาวะที่กระตุ้นให้โรคกำเริบก็ต่างกันในแต่ละคนไข้ ตัวอย่างของภาวะหรือสิ่งที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ คือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม ภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศเปลี่ยน การออกกำลังกาย โรคทางเดินอาหารบางโรค ภาวะแพ้ยา สารสี สารเคมีต่าง ๆ  และภาวะเครียด ในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่สองในสามจะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ต่างกันที่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะภูมิแพ้ ความเข้าใจผิดคือ ความเข้าในที่ว่าโรคหอบหืดเป็นผลจากภาวะภูมิแพ้เสมอไป โรคนี้คนเป็นกันมาก ตามสถิติแล้วประมาณ 10-13% ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย
           การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โรคหอบหืดกำเริบ ส่วนใหญ่ของเชื้อจะเป็นไวรัสที่ติดมาจากโรงเรียน หรือที่ชุมชน เด็กจำนวนมากที่แพ้สารต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา แมลงสาบ และอื่น ๆ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้แน่นอน
โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory]  เป็นผลให้มี cell ต่างๆ มาสะสมที่เยื่อผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ  ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้  โรคนี้เรียกตามอาการของคนไข้ อาการหอบหืดเกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดลม คือ
การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม
การบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม
เสมหะจำนวนมากที่คั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม

อาการของโรคหอบหืด
        อาการของโรคหืดในแต่ละคนมีความแตกต่างกัน  หรือแม้คนคนเดียวกันในเวลาที่แตกต่างกันก็อาจแสดงอาการ ไม่เหมือนเดิม  อาการสำคัญของโรคหอบหืด  ได้แก่
          - ไอ
          - แน่นหน้าอก
          - หายใจมีเสียงหวีด
          - หอบเหนื่อยหายใจลำบาก
        อาการมักจะแย่ลงเวลากลางคืนหรือเมื่อสัมผัสกับ ตัวกระตุ้นที่ผู้ป่วยแพ้
        ผู้ป่วยโรคหืดประมาณครึ่งหนึ่งจะมีอาการของโรค ภูมิแพ้ร่วมด้วย  เช่น  มีน้ำมูกขาวใสไหล คัดจมูก จาม  เป็นๆ หายๆ เวลาอากาศเปลี่ยน

        อาการที่เป็นปัญหาในการวินิจฉัยโรคหืดคือ  ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการไอเรื้อรังเพียง อย่างเดียว (cough variant asthma)  ตรวจร่างกาย มักจะปกติ  และผู้ป่วยเองก็ไม่เชื่อว่าตนเองเป็นโรคหืด  แต่ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับยาสเตอรอยด์ชนิดสูด

โรคหอบหืด(Asthma)

เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก

        ปัจจัยที่มีผลต่ออาการของโรคหอบหืด หรือจะ เรียกง่ายๆ ว่าตัวกระตุ้นหอบหืด  ได้แก่
1.   สารก่อภูมิแพ้  เช่น  ไรฝุ่น ฝุ่นละออง เชื้อรา  เกสรดอกไม้  แมลงสาบ  ขนสัตว์
2.   สารที่ก่อให้ เกิดการระคายเคือง  เช่น  ควันบุหรี่ กลิ่น มลภาวะในอากาศ สารระเหยที่มีกลิ่นเช่น น้ำหอม และ ตัวทำละลายต่างๆ
3.   อื่นๆ  เช่น
        3.1 การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
        3.2 การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เช่น ความเครียด ความโกรธ ความกลัว ความดีใจ การ   ออกกำลังกาย
        3.3 การเปลี่ยนแปลงของอากาศ อากาศเย็น การติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจ
        3.4 สารซัลไฟต์ในอาหาร เช่น ผลไม้แห้ง หรือไวน์
        3.5 ภาวะกรดย้อนจากกระเพาะ
        3.6 ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน ยาหยอดตา ที่มีฤทธิ์ต้านเบต้า
      3.7   อาหาร เช่น อาหารทะเล,ถั่ว,ไข่,นม,ปลา,สารผสมในอาหารเป็นต้น

การรักษาโรคหอบหืด    
        1.  หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น
        2.  การใช้ยา  ยาที่ใช้แบ่งได้เป็น 2  กลุ่มคือ
          2.1.  ยาขยายหลอดลม  ใช้เพื่อขยายหลอดลม ลดอาการหอบเหนื่อย  ได้แก่  ยา Ventolin, Bricanyl, Meptin  ทั้งชนิดยาเม็ดรับประทานและยาพ่น  รวมทั้ง ยาพ่น Berodual และ Combivent เป็นต้น 
          2.2.  ยาต้านการอักเสบ  ใช้ควบคุมโรคให้เข้า สู่ระยะสงบ ได้แก่  ยาพ่นที่มีส่วนประกอบของ สเตอรอยด์ เช่น  Pulmicort, Flixotide, Symbicort, Seretide  และยารับประทาน  ได้แก่  Singulair, Nuelin SR, Xanthium เป็นต้น
        3. รักษาโรคอื่นๆ ที่พบร่วมด้วยเช่น  โรคภูมิแพ้  และภาวะกรดย้อนจากกระเพาะ

        มักมีความเข้าใจผิดว่า  ยาขยายหลอดลมคือ ยาหลักที่ใช้รักษาโรคหืด  ความจริงแล้วไม่ถูกต้อง  เนื่องจากโรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบ  ดังนั้นยาหลัก ที่ใช้รักษาก็ต้องเป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ  ซึ่งก็ คือยาสเตอรอยด์ชนิดสูด  ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สุดที่ใช้รักษาโรคหืดในปัจจุบัน  สามารถลดการกำเริบเฉียบพลันและลดการทำลายหลอดลมอย่างถาวรได้  ในขณะที่ยาขยายหลอดลมออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ ของหลอดลม  จะลดอาการหอบเหนื่อยในช่วงที่กำลัง กำเริบ  ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนการรับประทานพารา- เซตามอลเพื่อลดไข้  แต่ก็มีความจำเป็นในช่วงที่มี อาการฉุกเฉิน
        ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอีกอย่างที่พบได้บ่อย คือ  เข้าใจว่ายาที่เป็นสเตอรอยด์เป็นยาอันตรายใช้แล้ว จะมีผลข้างเคียงระยะยาว  ความเชื่อนี้ถูกต้องเพียง บางส่วน  การได้รับยาในรูปรับประทานหรือฉีดใน ระยะยาว จะมีผลต่ออวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกายจริง  แต่ก็จำเป็นต้องใช้ในกรณีหอบเหนื่อยรุนแรงเฉียบพลัน เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย และใช้ในช่วงสั้นๆ  ไม่เกิน 7-10 วัน  ส่วนยาสเตอรอยด์ชนิดสูดจะออกฤทธิ์เฉพาะที่ หลอดลมและไม่ดูดซึม จึงปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง ตามที่เข้าใจ
        เนื่องจากโรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง  ถ้าผู้ป่วย มีอาการรุนแรงในระดับหนึ่งจำเป็นต้องใช้ยาสเตอรอยด์ ชนิดสูดอย่างต่อเนื่องจนอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยๆ ลดขนาดยาลง  และเมื่อมีอาการบ่อยขึ้นก็ต้องเพิ่มยาขึ้น ตามความรุนแรง

คำแนะนำ
1. เด็กควรกินปลาที่มีไขมันมากเป็นประจำ เช่นปลาค็อด จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืด
2. รับประทานอาหารที่มี แมกนีเซียมสูง ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน
3. ค้นหาว่าแพ้อะไร และพยายามหลีกเลี่ยง
4. งดอาหารที่กระตุ้นอาการหอบหืด ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น อาหารที่ใส่สารกันบูด
5. งดอาหารที่ใส่สีสังเคราะห์ เช่น tartrazine , brilliant blue
6. งดนมวัว ธัญพืช ไข่ ปลา ถั่วลิสง
7. รับประทานยาและออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ

5 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...



แนะนำสมุนไพรพลูคาวสกัดสด 100% ทำลายเชื้อ Hiv หูดหงอนไก่ สเก็ดเงิน ริดสีดวง มะเร็ง เบาหวาน ไต ไทรอย ไวรัสตับอักเสบบี อัมพฤกษ์ อัมพาต หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภูมิแพ้

คนที่ใช้แล้วต้องบอกต่อทานแล้วอาการดีขึ้นจริง สำหรับท่านใดสนใจหรือต้องการสอบถาม
สอบถามเพิ่มเติมที่ tel. 0959279523 ID line. Aofaudio0502

Unknown กล่าวว่า...

เป็นหอบกินกาแฟได้รึป่าวค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

เป็นหอบกินกาแฟได้รึป่าวค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

๏ เป็นแล้วอย่าอาย รักษาเร็วหายเร็ว ๏

แนะนำสมุนไพรสกัดสดช่วยยับยั้งและทำลายเชื้อไวรัสสาเหตุของโรคต่างๆ หูดหงอนไก่ HIV เริม หนองใน เริม งูสวัด ไวรัสตับอักเสบ อัมพฤกษ์ เส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือสมองตีบ ภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบ ริดสีดวง มะเร็ง เบาหวาน ปรึกษาได้ 0961025897 line : aot-tt

admin กล่าวว่า...

https://www.facebook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-422802711102047/

แสดงความคิดเห็น

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls