วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคปอดอักเสบหรือปอดบวมในเด็ก (Childhood pneumonia)


โรคร้ายอาจเกิดกับลูกคุณ

                         
โรคปอดบวมเป็นโรคที่สำคัญมากในกลุ่มอาการไข้หวัดและปอดบวม เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจชนิดรุนแรงคืออาการอักเสบ ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อปอด หลอดลม ถุงลมต่างๆ และสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตได้มาก โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กที่เกิดมามีน้ำหนักตัวน้อย เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เด็กขาดอาหารหรือเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด โรค ปอดอักเสบในเด็ก (childhood pneumonia) เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรง บางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการ หรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้จากโรคเรื้อรังทางปอด หรือโรคหลอดลมโป่งพอง จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับหนึ่งในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ในแต่ละปีจะมีเด็กทั่วโลกที่เสียชีวิตจากปอดอักเสบปีละ 2.4 ล้านคน
สาเหตุของการเกิดโรค
       สาเหตุของโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียร่วมกัน ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อรา พยาธิหรืออาจเกิดจากการแพ้หรือการระคายเคืองต่อสารที่สูดดมเข้าไป
 •     จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดปอดอักเสบในเด็กในประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่ เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) และ เชื้อฮิบ (Hib) ส่วนเชื้อไวรัสส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ respiratory syncytial virus (RSV) ซึ่งในแต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างกัน
 •       ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
 •     มักเกิดจากการสัมผัสละอองของน้ำมูก น้ำลายหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อ ส่วนใหญ่แล้วยังไม่มียาต้านไวรัส   ยกเว้นไวรัสไข้หวัดใหญ่ร่างกายกำจัดเชื้อไวรัสโดยสร้างภูมิต้านทานมาทำลายเชื้อไวรัส ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาจดีขึ้นได้เอง และมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ
•       ส่วนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็กที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้น  พบว่าเกิดจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสมากที่สุด  เพราะเชื้อแบคทีเรียนี้อาจพบอยู่ในเยื่อบุโพรงจมูก  ลำคอของคนเรา  เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือเยื่อบุดังกล่าวถูกทำลาย  เชื้อนิวโมคอคคัสก็จะหลุดเข้าสู่ร่างกาย หรืออาจเกิดจากการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอเข้าไปในหลอดลมส่วน ปลายหรือถุงลมปอด ถ้าจำนวนเชื้อที่สูดสำลักเข้าไปที่ถุงลมมมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดออกได้ เชื้อเหล่านี้จะแบ่งตัวและก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา ทำให้เนื้อปอดถูกทำลาย การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนได้

 •       เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี เช่น การสูดหายใจเข้าไป การสำลัก การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด
 •       ใน ภาวะปกติระบบหายใจในร่างกายจะมีกลไกในการป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมหรือ เชื้อโรคเข้าสู่หลอดลมหรือถุงลมปอดโดยร่างกายมีจมูกเป็นอวัยวะในการกรอง เชื้อโรค และฝุ่นละอองไม่ให้เข้าสู่ปอดและขับสิ่งต่างๆ ออกจากร่างกายโดยการไอ นอกจากนี้ในถุงลมปอดยังมีกลวิธีในการกำจัดเชื้อหลายอย่าง เช่น เชื้ออาจถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยมีเม็ดเลือดขาวมากินเชื้อโรคหรือมีระบบ ภูมิคุ้มกันมาทำลายเชื้อโรค เมื่อความสมดุลระหว่างเชื้อก่อโรคและกลไกในการป้องกันเชื้อโรคของระบบหายใจ เสียไป ผู้ป่วยก็มีโอกาสเกิดโรคปอดอักเสบได้
 •       ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เชื้อลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ สมองและกระแสเลือด เป็นต้น ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น

           


  ความรุนแรงของโรคปอดบวม

          เกิด ได้จากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อที่ร่างกายสามารถกำจัดออกได้ แต่หากเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดที่รุนแรง อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งพบว่า เชื้อนิวโมคอคคัสเป็นชื่อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุใหญ่ ทำให้เกิดโรคปอดบวมและโรคติดเชื้อรุนแรง เช่นการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดหูน้ำหนวก ไซนัสอักเสบ หากลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด เยื่อหุ้มสมอง ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นกลุ่มโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงหรือที่เรียกว่าไอพีดี

อาการ
ในระยะเริ่มแรก จะมีอาการไข้ ไอมีเสมหะ และหอบเหนื่อย
อาการของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค
โดย ทั่วไปในผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสจะมีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ ทางเดินหายใจส่วนต้นนำมาก่อน เช่น ไข้ น้ำมูก ไหล ไอ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะค่อยๆ เริ่มมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว จมูกบาน ซี่โครงบาน และตัวเขียวได้
ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมักจะมีอาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลันดูป่วยหนักไอมาก และมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยได้
อาการ ที่ไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร้องกวนและงอแง ผู้ป่วยบางรายจะมีหนาวสั่นได้ ในเด็กทารกอาการแสดงของโรคปอดอักเสบส่วนมากจะไม่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมีอาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ

การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบในเด็ก
       จากการซักถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจระบบทางเดินหายใจ
       องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้อัตราการหายใจเป็นการประเมินผู้ป่วยที่มีประวัติไข้และไอเป็นอาการนำ   อัตรา การหายใจเป็นตัวอาการบ่งชี้ที่มีความไวและมีความจำเพาะที่ดีที่สุดในการให้ การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นปอดอักเสบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี
       อัตราการหายใจที่ผิดปกติในกลุ่มอายุต่างๆ ในเด็กมีดังต่อไปนี้
       อายุแรกเกิดถึง 2 เดือน      อัตราการหายใจไม่ควรเกิน   60 ครั้ง/นาที
       อายุ 2 เดือนถึง 12 เดือน   อัตราการหายใจไม่ควรเกิน   50 ครั้ง/นาที
       อายุ 12 เดือน ถึง 5 ปี        อัตราการหายใจไม่ควรเกิน  40 ครั้ง/นาที
การรักษา
หลักการรักษาโรคปอดอักเสบในเด็กขึ้นกับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค
ผู้ ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีมักได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ ความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ ภาวะพร่องออกซิเจน และยังอาจพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดได้
ผู้ป่วย ปอดอักเสบและมีอาการไม่รุนแรงมาก เช่น มีไข้ ไอ และหายใจ เร็วไม่มากนัก แพทย์อาจจะให้การรักษาให้ยาปฏิชีวนะรับประทาน (ในกรณีที่สงสัยว่าปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย) และนัดผู้ป่วยมาดูเป็นระยะๆ ได้
ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหนักต้องรับไว้ในโรงพยาบาล ได้แก่
อายุน้อยกว่า 6 เดือน
หอบมาก ต้องการออกซิเจน
คลื่นไส้อาเจียน
กินยาแล้วไม่ได้ผล
ภูมิคุ้มกันต่ำ
พ่อแม่ไม่น่าไว้วางใจว่าจะดูแลเด็กได้ดีพอหรือไม่
ยาปฏิชีวนะ

เด็กที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดอักเสบหรือปอดบวมได้แก่
น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม
เด็กที่มีโรคเรื้อรังเช่นโรคหัวใจ โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคทางสมอง
ภาวะโภชนาการไม่ดี
ไม่ได้กินนมแม่
ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามกำหนด
อยู่ในสภาพที่แออัด และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ไม่ดี
เด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรือพ่อแม่สูบบุหรี่
มีควันไฟในบ้าน
เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีเด็กมากๆ
การป้องกัน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่อยู่ในที่ แออัด และพักผ่อนให้เพียงพอ
ควรนำเด็กไปรับวัคซีนป้องกันโรคหัด คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ วัณโรค ให้ครบตามกำหนดนัดของแพทย์
รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยเฉาพะ เมื่อมีอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น เย็นจัด ชื้นจัด ต้องให้เด็กได้รับความอบอุ่น พอควรถ้าเปียกฝนต้องเช็ดให้แห้ง
ผู้ใหญ่ไม่ควรสูบบุหรี่เพราะควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อเด็ก
พอแม่ควรรู้อาการบ่งชี้ว่า เมื่อใดต้องพบแพทย์
อย่าคลุกคลีกับคนที่เป็นหวัดหรือปอดบวม
* เป็นไข้หวัด มีไข้สูง (เกิน 3 วัน) หรือมีไข้ไอมาก (เกิน 7 วัน) ควรไปพบแพทย์

การดูแล

          สิ่งสำคัญ ในการดูแลลูกน้อยที่ป่วยเป็นโรคปอดบวม คือการปฏิบัติตามคำสั่งของคุณหมออย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกลับมาอีกครั้ง ทั้งนี้ โรคปอดบวมสามารถป้องกันได้ในเบื้องต้นโดย
 สร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ โดยให้ลูกกินนมแม่
  
เมื่อไม่สบายเป็นไข้ ควรเช็ดตัว และให้ลูกดื่มน้ำให้มาก และให้ยาตามอาการ
  
ดูแลเรื่องสุขอนามัย ความสะอาด ความอบอุ่น
  
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ช้อน แก้วน้ำ ของเล่น
  
การรับวัคซีนป้องกันโรค เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ทั้งนี้ควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อน


2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...



สมุนไพรพลูคาวสกัดสด 100% ทำลายเชื้อ Hiv หูดหงอนไก่ สเก็ดเงิน ริดสีดวง มะเร็ง เบาหวาน ไต ไทรอย ไวรัสตับอักเสบบี อัมพฤกษ์ อัมพาต หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภูมิแพ้

คนที่ใช้แล้วต้องบอกต่อทานแล้วอาการดีขึ้นจริง สำหรับท่านใดสนใจหรือต้องการสอบถาม
สอบถามเพิ่มเติมที่ tel. 0959279523 ID line. Aofaudio0502

admin กล่าวว่า...

https://www.facebook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-422802711102047/

แสดงความคิดเห็น

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls