วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคภูมิแพ้ที่ตา






โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีความไวผิดปกติต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้า สู่ร่างกาย ซึ่งเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้  ในคนปกติจะไม่เกิดอาการ แต่คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หากได้รับสารก่อภูมิแพ้ก็จะเกิดอาการแพ้ขึ้นและสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยหรือสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้มีมากมายหลายชนิด เช่น เกสรดอกไม้ เครื่องสำอาง ขนของสัตว์เลี้ยง วัชพืช น้ำหอม ตัวไรฝุ่นที่นอน เชื้อราในที่อับชื้น เป็นต้น
โรคภูมิแพ้ซึ่งเกิดที่ตาชั้นนอก เป็นโรคตาที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง โดยพบได้ประมาณ 10-20% ของคนปกติทั่วไป ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ หรือเขตชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคภูมิแพ้ที่ตาเป็นโรคที่ไม่อันตราย เพียงแค่ก่อให้เกิดความรำคาญ แต่ในรายที่เป็นเรื้อรังหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจทำให้เกิดความพิการของตาได้
ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ ควบคู่ไปกับการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ดี รวมถึงได้รับการติดตามผลการรักษาเป็นระยะๆ แล้วจะสามารถลดอัตราการเกิดการแพ้และการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โรคหอบหืด(Asthma)



โรคหอบหืด(Asthma)
        โรคหอบหืด(Asthma) คืออะไร
        โรคหืดหรือโรคหอบหืดหรือ Asthma  คือโรค ที่มีการอักเสบเรื้อรังของ หลอดลม  ทำให้หลอดลมมี ความไวต่อการถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้หรือตัวกระตุ้น ต่างๆ  เมื่อถูกกระตุ้นหลอดลมจะมีการตีบแคบลง เนื่อง จากมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ  มีการสร้างเสมหะ มากขึ้นร่วมกับการบวมและหลุดลอกของเยื่อบุหลอด ลมที่ตีบแคบอาจดีขึ้นได้เองหรือดีขึ้นด้วยยาขยาย หลอดลม  โรคหืดเป็นโรคที่ไม่หายขาดแต่จะมีอาการ ดีขึ้น หรือแย่ลงเป็นๆ หายๆ  บางคนก็นานๆ เป็นครั้ง เวลาเป็นหวัด  ในขณะที่บางคนก็เป็นบ่อยหรือเป็น ตลอดเวลา  มีข้อมูลว่าผู้ป่วยโรคหืดจะมีการอักเสบของ หลอดลม เกือบตลอดเวลาแม้จะไม่มีอาการ  การอักเสบ นี้ถ้ามีความรุนแรงอาจนำไปสู่การทำลายหลอดลมอย่าง ถาวรได้ 
    โรคนี้ต่างกับโรคอื่น ๆ คนไข้บางคนเป็นน้อย บางคนเป็นมาก อาจเสียชีวิตได้ ภาวะที่กระตุ้นให้โรคกำเริบก็ต่างกันในแต่ละคนไข้ ตัวอย่างของภาวะหรือสิ่งที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ คือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม ภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศเปลี่ยน การออกกำลังกาย โรคทางเดินอาหารบางโรค ภาวะแพ้ยา สารสี สารเคมีต่าง ๆ  และภาวะเครียด ในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่สองในสามจะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ต่างกันที่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะภูมิแพ้ ความเข้าใจผิดคือ ความเข้าในที่ว่าโรคหอบหืดเป็นผลจากภาวะภูมิแพ้เสมอไป โรคนี้คนเป็นกันมาก ตามสถิติแล้วประมาณ 10-13% ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย
           การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โรคหอบหืดกำเริบ ส่วนใหญ่ของเชื้อจะเป็นไวรัสที่ติดมาจากโรงเรียน หรือที่ชุมชน เด็กจำนวนมากที่แพ้สารต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา แมลงสาบ และอื่น ๆ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้แน่นอน
โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory]  เป็นผลให้มี cell ต่างๆ มาสะสมที่เยื่อผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ  ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้  โรคนี้เรียกตามอาการของคนไข้ อาการหอบหืดเกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดลม คือ
การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม
การบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม
เสมหะจำนวนมากที่คั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม

อาการของโรคหอบหืด
        อาการของโรคหืดในแต่ละคนมีความแตกต่างกัน  หรือแม้คนคนเดียวกันในเวลาที่แตกต่างกันก็อาจแสดงอาการ ไม่เหมือนเดิม  อาการสำคัญของโรคหอบหืด  ได้แก่
          - ไอ
          - แน่นหน้าอก
          - หายใจมีเสียงหวีด
          - หอบเหนื่อยหายใจลำบาก
        อาการมักจะแย่ลงเวลากลางคืนหรือเมื่อสัมผัสกับ ตัวกระตุ้นที่ผู้ป่วยแพ้
        ผู้ป่วยโรคหืดประมาณครึ่งหนึ่งจะมีอาการของโรค ภูมิแพ้ร่วมด้วย  เช่น  มีน้ำมูกขาวใสไหล คัดจมูก จาม  เป็นๆ หายๆ เวลาอากาศเปลี่ยน

        อาการที่เป็นปัญหาในการวินิจฉัยโรคหืดคือ  ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการไอเรื้อรังเพียง อย่างเดียว (cough variant asthma)  ตรวจร่างกาย มักจะปกติ  และผู้ป่วยเองก็ไม่เชื่อว่าตนเองเป็นโรคหืด  แต่ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับยาสเตอรอยด์ชนิดสูด

โรคหอบหืด(Asthma)

เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก

        ปัจจัยที่มีผลต่ออาการของโรคหอบหืด หรือจะ เรียกง่ายๆ ว่าตัวกระตุ้นหอบหืด  ได้แก่
1.   สารก่อภูมิแพ้  เช่น  ไรฝุ่น ฝุ่นละออง เชื้อรา  เกสรดอกไม้  แมลงสาบ  ขนสัตว์
2.   สารที่ก่อให้ เกิดการระคายเคือง  เช่น  ควันบุหรี่ กลิ่น มลภาวะในอากาศ สารระเหยที่มีกลิ่นเช่น น้ำหอม และ ตัวทำละลายต่างๆ
3.   อื่นๆ  เช่น
        3.1 การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
        3.2 การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เช่น ความเครียด ความโกรธ ความกลัว ความดีใจ การ   ออกกำลังกาย
        3.3 การเปลี่ยนแปลงของอากาศ อากาศเย็น การติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจ
        3.4 สารซัลไฟต์ในอาหาร เช่น ผลไม้แห้ง หรือไวน์
        3.5 ภาวะกรดย้อนจากกระเพาะ
        3.6 ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน ยาหยอดตา ที่มีฤทธิ์ต้านเบต้า
      3.7   อาหาร เช่น อาหารทะเล,ถั่ว,ไข่,นม,ปลา,สารผสมในอาหารเป็นต้น

การรักษาโรคหอบหืด    
        1.  หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น
        2.  การใช้ยา  ยาที่ใช้แบ่งได้เป็น 2  กลุ่มคือ
          2.1.  ยาขยายหลอดลม  ใช้เพื่อขยายหลอดลม ลดอาการหอบเหนื่อย  ได้แก่  ยา Ventolin, Bricanyl, Meptin  ทั้งชนิดยาเม็ดรับประทานและยาพ่น  รวมทั้ง ยาพ่น Berodual และ Combivent เป็นต้น 
          2.2.  ยาต้านการอักเสบ  ใช้ควบคุมโรคให้เข้า สู่ระยะสงบ ได้แก่  ยาพ่นที่มีส่วนประกอบของ สเตอรอยด์ เช่น  Pulmicort, Flixotide, Symbicort, Seretide  และยารับประทาน  ได้แก่  Singulair, Nuelin SR, Xanthium เป็นต้น
        3. รักษาโรคอื่นๆ ที่พบร่วมด้วยเช่น  โรคภูมิแพ้  และภาวะกรดย้อนจากกระเพาะ

        มักมีความเข้าใจผิดว่า  ยาขยายหลอดลมคือ ยาหลักที่ใช้รักษาโรคหืด  ความจริงแล้วไม่ถูกต้อง  เนื่องจากโรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบ  ดังนั้นยาหลัก ที่ใช้รักษาก็ต้องเป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ  ซึ่งก็ คือยาสเตอรอยด์ชนิดสูด  ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สุดที่ใช้รักษาโรคหืดในปัจจุบัน  สามารถลดการกำเริบเฉียบพลันและลดการทำลายหลอดลมอย่างถาวรได้  ในขณะที่ยาขยายหลอดลมออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ ของหลอดลม  จะลดอาการหอบเหนื่อยในช่วงที่กำลัง กำเริบ  ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนการรับประทานพารา- เซตามอลเพื่อลดไข้  แต่ก็มีความจำเป็นในช่วงที่มี อาการฉุกเฉิน
        ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอีกอย่างที่พบได้บ่อย คือ  เข้าใจว่ายาที่เป็นสเตอรอยด์เป็นยาอันตรายใช้แล้ว จะมีผลข้างเคียงระยะยาว  ความเชื่อนี้ถูกต้องเพียง บางส่วน  การได้รับยาในรูปรับประทานหรือฉีดใน ระยะยาว จะมีผลต่ออวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกายจริง  แต่ก็จำเป็นต้องใช้ในกรณีหอบเหนื่อยรุนแรงเฉียบพลัน เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย และใช้ในช่วงสั้นๆ  ไม่เกิน 7-10 วัน  ส่วนยาสเตอรอยด์ชนิดสูดจะออกฤทธิ์เฉพาะที่ หลอดลมและไม่ดูดซึม จึงปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง ตามที่เข้าใจ
        เนื่องจากโรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง  ถ้าผู้ป่วย มีอาการรุนแรงในระดับหนึ่งจำเป็นต้องใช้ยาสเตอรอยด์ ชนิดสูดอย่างต่อเนื่องจนอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยๆ ลดขนาดยาลง  และเมื่อมีอาการบ่อยขึ้นก็ต้องเพิ่มยาขึ้น ตามความรุนแรง

คำแนะนำ
1. เด็กควรกินปลาที่มีไขมันมากเป็นประจำ เช่นปลาค็อด จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืด
2. รับประทานอาหารที่มี แมกนีเซียมสูง ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน
3. ค้นหาว่าแพ้อะไร และพยายามหลีกเลี่ยง
4. งดอาหารที่กระตุ้นอาการหอบหืด ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น อาหารที่ใส่สารกันบูด
5. งดอาหารที่ใส่สีสังเคราะห์ เช่น tartrazine , brilliant blue
6. งดนมวัว ธัญพืช ไข่ ปลา ถั่วลิสง
7. รับประทานยาและออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

อาการของไซนัสอักเสบ

โรคไซนัสอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.ไซนัสอักเสบ แบบเฉียบพลัน 
      คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถหายได้ภายใน 7 วัน อาการทั่วไปจะเหมือนไข้หวัด มีไข้ เมื่อเชื้อลุกลามเข้าสู่ไซนัสก็จะมีอาการปวดจมูก ปวดกระบอกตา หรือแก้มข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง น้ำมูกและเสมหะจะมีสีเหลืองอมเขียวมากขึ้น อาจปวดกระดูกขากรรไกรบน หรือปวดฟันบนด้วย โอกาสที่การติดเชื้อจะลุกลามมีสูง จึงควรรักษาอย่างจริงจัง เพื่อลดโอกาสที่จะกลายเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง
      
2.ไซนัสอักเสบ เรื้อรัง
          คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีอาการมากกว่า 10 วัน และในช่วงที่เป็นนั้น อาการต่าง ๆ ไม่มีช่วงที่หายสนิท จะมีอาการปวดตื้อ ๆ มึนงง ร่วมกับคัดจมูกเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวในลำคอตลอดวัน เพราะมูกจากไซนัสไหลลงมาทางจมูกนั่นเอง ประสิทธิภาพในการดมกลิ่น รับกลิ่นของจมูกจะลดลง และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น

โรคไซนัสอักเสบ
การรักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลัน
           ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งควรได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 10-14 วัน
           ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ ควรใช้ควบคู่ไปกับยาปฏิชีวนะ
           ยาลดการบวม มีทั้งชนิดรับประทานและชนิดพ่นหรือหยอดจมูก ช่วยบรรเทาอาการคัดแน่นจมูก ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3-5 วัน
           ยาต้านฮิสตามีนหรือยาแก้แพ้ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ทั้งที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงและไม่ง่วง
           การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่าย และช่วยให้อาการทางไซนัสดีขึ้น ลดความหนืดของน้ำมูก และช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ชนิดมีขนอ่อนไว้พัดโบกในโพรงจมูกและไซนัส
         การรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง
          หากใช้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีการอักเสบเป็นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง รวมถึงรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบเฉียบพลันทั้งต่อทางตา,สมองและ กระดูกที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แพทย์อาจพิจารณาใช้การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคปเข้าช่วย เช่น การเจาะล้างไซนัส เพื่อล้างมูกหนองที่คั่งอยู่ในท่อออกไป หรือการผ่าตัดขยายรูเปิดของไซนัส
          ปัจจุบันการตรวจรักษา และการผ่าตัดมีความปลอดภัยสูงมาก และมีประสิทธิภาพ ยังคงรักษาสภาพโครงสร้างหลักที่สำคัญของช่องจมูกไว้ได้ในสภาพปกติดังเดิม อีกทั้งผู้ป่วยก็เสียเลือดไม่มาก และฟื้นตัวได้เร็ว

โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้บ้างก็คือ

           1. การติดเชื้อที่อาจลุกลามเข้าไปในกระบอกตา ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ ตาอักเสบและเกิดเป็นฝีรอบตา  (Periorbital abcess)มักพบในเด็ก หรือคนชรา ความรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้เลยทีเดียว โดยจะพบว่า มีอาการตาบวมข้างเดียว แดงรอบ ๆ และในลูกตา หนังตาบวมกดเจ็บ ลูกตาโปน สามารถรักษาได้โดยการฉีดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม และการผ่าตัด
           2. โรคแทรกซ้อนขึ้นสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีใต้เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งมักพบในเด็ก หรือคนชรา ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อรุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน
           3.ริดสีดวงจมูก คือ ก้อนในจมูกที่เกิดจากภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือเกิดจากภูมิแพ้ ไม่ลุกลามไปที่อื่น แต่เบียดกระดูก หากทานยาแก้แพ้จะทำให้ยุบลงได้บ้าง การรักษาทำได้ด้วยการผ่าตัด
กลุ่มเสี่ยง ไซนัสอักเสบ

          ไม่ว่าใครก็สามารถเป็น ไซนัสอักเสบ ได้แม้แต่เด็กแรกเกิด แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็น ไซนัสอักเสบ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป คือ
           1. คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก เพราะเมื่อเกิดอาการแพ้จะเหมือนคนเป็นหวัด เยื่อบุจมูกจะบวม รูเปิด ไซนัสจะตีบตันทำให้เกิดการอักเสบในไซนัสได้
           2. คนที่มีความผิดปกติของช่องจมูก เช่น ผนังกั้นระหว่างช่องจมูกคด ทำให้ช่องจมูกแคบกว่าปกติเกิดอาการแน่นคัดจมูก และขัดขวางการไหลเวียนตามปกติของน้ำมูก ที่จะไปทางด้านหลังทำให้มีโอกาสเกิด การอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น
           3.คนที่สูบบุหรี่และคนที่อยู่ในเขตมลภาวะเป็นพิษ จะมีผลทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบมากขึ้น
           4. มีคนกล่าวถึงการว่ายน้ำสระที่ใส่น้ำยาคลอรีน หรือฆ่าเชื้อด้วยโอโซน อาจทำให้มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบเกิดขึ้น เพราะว่ามีการระคายเคืองของเยื่อบุเกิดขึ้น
โรคไซนัสอักเสบ

ถ้าเราเป็นหวัดจะมีโอกาสเกิดไซนัสอักเสบบ่อยไหม ?
ในเรื่องนี้ยังไม่มีสถิติที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย เคยมีผู้รายงานว่า พบโรคไซนัสอักเสบได้ร้อยละ 3-5 ของผู้ป่วยที่มาตรวจที่คลีนิกหู คอ จมูก แต่ไม่ได้ระบุว่าโรคไซนัสอักเสบนี้มีสาเหตุมาจากโรคหวัดหรือไม่ แต่ในรายงานของต่างประเทศพบว่าจะเกิดภาวะไซนัสอักเสบได้ประมาณร้อยละ 0.5 ของการเป็นหวัด นั่นคือ ถ้าเราเป็นหวัด 200 ครั้ง ก็อาจเกิดไซนัสอักเสบได้ 1 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าพบภาวะไซนัสอักเสบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และโรคหืด ถ้าดูตามสถิติแล้วจะพบว่าโอกาสเกิดไซนัสอักเสบจะมีค่อนข้างน้อยแต่ยังมี ปัจจัยด้านอื่นที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดไซนัสอักเสบได้ง่ายขึ้น คือ
โรคภูมิแพ้ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ จะมีอาการคันในจมูก, น้ำมูกไหล, คัดจมูก ทำให้ต้องขยี้จมูกและสั่งน้ำมูกบ่อย จึงทำให้เกิดการอุดตันบริเวณเปิดไซนัสได้ง่าย จึงเกิดไซนัสอักเสบง่ายขึ้น
การป้องกัน โรคไซนัสอักเสบ
          โดยทั่วไปคือการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่ให้เป็นหวัด โดยพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือบริเวณที่มีฝุ่นควันมาก ๆ รวมทั้งพยายามรักษาสุขภาพของปากและฟันให้ดี ไม่ให้ฟันผุ และถ้าเป็นหวัดแล้ว ก็รีบรักษาให้หายขาดแต่เนิ่น ๆ

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทำไมเราต้องจาม(sneeze)



จาม (อังกฤษ: sneeze หรือ sternutation) เป็นกลไกกึ่งอัตโนมัติของการขับลมออกจากปอดผ่านทางจมูกและปากอย่างรวดเร็ว มักเกิดจากอนุภาคแปลกปลอมระคายเคืองเยื่อเมือกของจมูก

หน้าที่ของการจาม
เป็นการขับเมือกซึ่งมีอนุภาคแปลกปลอมหรือสารระคายออก และช่วยทำความสะอาดโพรงจมูก ในระหว่างการจามเพดานอ่อนและลิ้นไก่กดลงในขณะที่ส่วนหลังของลิ้นยก ขึ้นเพื่อปิดช่องทางผ่านทางปากบางส่วน เพื่อให้ลมที่ถูกขับจากปอดจะออกมาผ่านทางจมูก และเนื่องจากปากปิดบางส่วนจึงทำให้มีปริมาณอากาศจำนวนหนึ่งผ่านออกทางปาก ด้วย แรงและปริมาณของการขับอากาศผ่านทางจมูกมีความหลากหลาย

การจามมักเกิดเมื่อมีอนุภาคแปลกปลอมหรือมีสิ่งกระตุ้นภายนอกที่เพียงพอผ่านขนจมูกมาถึงเยื่อเมือกของจมูก ซึ่งจะกระตุ้นให้ฮิสทามีนหลั่ง และเกิดการระคายเซลล์ประสาทในจมูกแล้วส่งสัญญาณประสาทไปยังสมองเพื่อกระตุ้นการจามผ่านทางเครือข่ายประสาทไทรเจมินัล (trigeminal nerve network) จากนั้นสมองแปรสัญญาณแรกเริ่ม กระตุ้นกล้ามเนื้อคอหอยและหลอดลม และมีการเปิดช่องปากและโพรงจมูกให้กว้างขึ้นเพื่อให้เกิดการปล่อยอากาศและ อณูชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ การจามที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยการทำงานของอวัยวะในส่วนบนของร่าง กายหลายอวัยวะ การจามเป็นการตอบสนองที่เป็นรีเฟล็กซ์ที่อาศัยใบหน้า คอ และกล้ามเนื้อหน้าอก เวลาที่จามนั้น อวัยวะทุกส่วนของร่ายกายจะหยุดทำงานชั่วขณะ รวมถึงหัวใจ




การจาม เป็นกลไกของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในโพรงจมูก สาเหตุที่ทำให้จามอาจเกิดจากไข้หวัด ภูมิแพ้ หรือการระคายเคืองต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ มลพิษ น้ำหอม หรืออากาศเย็น
จะสังเกตได้ว่าก่อนที่จะจาม เราจะรู้สึกว่าคันในจมูก จะมีการส่ง “สัญญาณคัน” ที่ว่านี้ขึ้นไปยังสมอง จากนั้นสมองจะสั่งให้เกิดการจามขึ้น เพื่อขับเอาสิ่งที่ระคายเคืองออกไปจากร่างกาย
ในการจามแต่ละครั้ง กล้ามเนื้อต่อไปนี้จะทำงานร่วมกัน ได้แก่ กล้ามเนื้อส่วนท้อง กล้ามเนื้อหน้าอก กะบังลม กล้ามเนื้อที่ควบคุมสายเสียง กล้ามเนื้อด้านหลังลำคอ และกล้ามเนื้อเปลือกตา (เราจึงไม่สามารถจามทั้งที่ยังลืมตาได้ ลองสังเกตตัวเองเวลาจามครั้งต่อไป ว่ากล้ามเนื้อเหล่านี้ทำงานร่วมกันอย่างไร)

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) เกิดจากอะไร


ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) จะเกิดขึ้นเมื่อจมูกมีการติดเชื้อ มีการอักเสบ อาจเป็นเพราะอาการหวัด เป็นภูมิแพ้ มีสารระคายเคือง มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก รวมทั้งการมีฟันกรามผุถึงโพรงรากฟัน การ เป็นโรคหัด และเกิดอุบัติเหตุที่กระดูกบนใบหน้า จึงทำให้ท่อที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัส และจมูก เกิดอาการบวมแล้วตีบตัน จนมีน้ำเมือกในโพรงจมูกคั่งค้างอยู่ เมื่อมูกภายในสะสมมากขึ้นจะมีความหนืด และมีสภาพความเป็นกรด ทำให้เชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตได้ดี จนกลายเป็นภาวะโพรงจมูกอักเสบ หรือ ไซนัสอักเสบ นั่นเอง
โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบ มักจะมีอาการของโรคหวัด หรือโรคภูมิแพ้นำมาก่อน กล่าวคือ จะมีน้ำมูก, คัดจมูก และอาการไอ อาการตามมาที่บ่งชี้ว่าจะเป็นไซนัสอักเสบจะมีดังนี้ คือ
1. ปวดศีรษะ หลังจากผู้ป่วยมีอาการของโรคหวัดแล้ว จะมีอาการ ปวดบริเวณโพรงอากาศที่อักเสบ เช่น ปวดแก้ม, ปวดบริเวณหัวตาทั้งสองข้าง, ปวดบริเวณหน้าผาก หรืออาการปวดในกระบอกตาทั้งสองข้างอาการปวดเหล่านี้ จะเป็นอาการปวดแบบตื้อ ๆ บางครั้งจะมีอาการ มึนศีรษะร่วมกับอาการปวด และจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยก้มศีรษะลง
2. คัดจมูกแน่นจมูก ผู้ป่วยจะเป็นตลอดเวลาถึงแม้ว่าจะทานยารักษาโรคหวัดแล้วก็ตามอาการนี้จะยังไม่หายไป บางครั้งคัดจมูกมาก จนต้องหายใจทางปาก
มีน้ำมูกและเสมหะสีเหลืองเขียว ถึงแม้ว่าผู้ป่วยทานยาแก้อักเสบรักษาโรคหวัด อาการน้ำมูกสีเหลืองเขียวก็ยังไม่หายไป บางครั้ง น้ำมูกจะไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว บางครั้งก็จะมีความรู้สึก เหมือนมีน้ำมูกไหลลงคออยู่เรื่อย ๆ และในรายที่เป็นมาก ๆ จะมีกลิ่นเหม็นในจมูกซึ่งสามารถรู้ได้ด้วยตัวเอง
3. มีไข้ ผู้ป่วยบางรายจะมีไข้สูงจนหนาวสั่น ในขณะที่มีไขสูง ก็จะมีอาการปวดศีรษะและปวดหน้าร่วมด้วย
4. อาการไอ มีผู้ป่วยบางส่วนมักมีอาการที่กล่าวมาไม่มากนัก แต่จะมีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน บางครั้งอาการหวัดหายไปแต่ยังมีอาการไออยู่ และเป็นอาการไอแบบมีเสมหะขันร่วมด้วย
5. ในผู้ป่วยเด็ก มักมีอาการไม่ชัดเจนเท่าในผู้ใหญ่ แต่อาการที่น่าคิดถึงไซนัสอักเสบในเด็ก คืออาการหวัดเรื้อรัง เป็นเวลานาน ๆ, อาการไออย่างรุนแรง และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น นอกจากนี้เด็กที่มีอาการของหูอักเสบเรื้อรังและหอบหืด ก็ควรนึกถึงโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย

ไซนัสคืออะไร

sinusitisโพรงในจมูกในหน้าของเรา โพรงนี้จะเป็นคู่ คือ อยู่ข้างขวา
และข้างซ้าย ไซนัสคู่ที่เกิดก่อนเพื่อนคือ ไซนัสบริเวณแก้ม เรียกว่า
แม็กซิลลารี่ไซนัส เริ่มเกิดตั้งแต่ ยังอยู่ในท้องแม่ ต่อมาคือไซนัสใต้สันจมูก
ลงไป ปรากฏตอนเกิด เรียกว่า เอ็ทมอยด์ไซนัส เมื่ออายุราว 6 ขวบ
จะเริ่มมีไซนัสบริเวณหน้าผาก เรียกชื่อว่า ฟรันเทิ่ลไซนัส สุดท้ายคือไซนัส
บริเวณใต้สันจมูก ติดกับเอ็ทมอยด์ไซนัส เริ่มเกิดตอนอายุราว 9 ขวบ
เรียกว่า สฟีนอยด์ไซนัส ทุกโพรงไซนัสจะมีช่องหรือรูระบายลงสู่โพรงจมูก
และมีเยื่อบุปกคลุมในโพรงทั้งหมด ไซนัสอักเสบก็คือ การอักเสบของเยื่อ
บุโพรงไซนัส นั่นเอง ซึ่งอาจอักเสบ 1 โพรง หรือหลายโพรงพร้อมกันก็ได้
เนื่องจากไซนัสเปิดสู่โพรงจมูกซึ่งมักมีเชื้อโรคอยู่ เชื้อโรคจึงเป็นตัวการสำคัญ
ในการอักเสบ ของไซนัส หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาโรคไซนัสอักเสบ
เฉียบพลัน อาจมีอาการแทรกซ้อน เกิดขึ้นได้ เช่น การอักเสบของเนื้อเยื่อ
ข้างเคียง เป็นฝีหนอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
(เพราะอยู่ใกล้กัน มาก แค่คนละฝั่งของกระดูก)
กระดูกอักเสบ หรือเกิดการอุดตัน ของหลอดเลือดดำใต้สมอง ในเด็ก
หากไม่รักษาอาจทำให้รูปใบหน้าไม่สมดุล บิดเบี้ยวไป หรืออาจเป็นตัวกระตุ้น
ให้เกิดหอบหืดได้

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้
1.รักษาอาการของท่านด้วยตนเอง โดยหลีกเลี่ยงสารที่ท่านแพ้ให้มากที่สุด และเมื่อมีอาการ   มาก ท่านสามารถเลือกใช้ยาแก้แพ้ที่มีขายทั่วไป เมื่อใช้ยาดังกล่าวแล้ว อาการไม่ดีขึ้นภายใน 7วันท่านควรปรึกษาแพทย์

2.ติดเครื่องปรับอากาศในบ้านของท่าน จะทำให้อากาศมีความชื้นต่ำลง ซึ่งเป็นสภาวะที่ตัวไร        และเชื้อราไม่ชอบ

3.ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศโดยจะต้องเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่เพียงพอกับขนาดของห้องและได้มาตรฐาน

4.เลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดบริเวณที่อับชื้น ที่มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อราผสมอยู่ด้วย

5.ไม่ควรเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้าน

6.ใช้ผ้าปิดจมูกและปากทุกครั้ง เมื่อจำเป็นต้องทำความสะอาดบ้านด้วยตนเอง

7.หลีกเลี่ยงการใช้พรมในบ้าน พรมเป็นบ้านหลังใหญ่ที่ตัวไรและเชื้อราจะมาอาศัยอยู่เป็น
จำนวนมาก

8.ซักปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนของท่านบ่อยๆ ในน้ำร้อน

9.ทำห้องนอนของท่านให้เป็นเขตปลอดสารก่อภูมิแพ้

10.การดูแลรักษาสุขภาพและการออกกำลังกายเป็นประจำ

    วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

    โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic cezema)


    โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic cezema)เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง อุบัติการของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง พบประมาณร้อยละ 4.3 ของผู้ป่วยเด็กที่มารับการตรวจที่ โรงพยาบาล เป็นโรคที่เกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ การเกิดโรคในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ไปบ้างตามเชื้อชาติ และสภาพแวดล้อม 
    โรคภูมิแพ้ผิวหนัง(Atopic cezema)


    ผู้ป่วยโรคภูมิผิวหนัง มีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันไปตามอายุ ความรุนแรง ของโรคในผู้ป่วยแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ได้รับ การถ่ายทอดมา ว่ามีความผิดปกติมากหรือน้อย และยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบตัวของ ผู้ป่วยด้วย ลักษณะอาการของโรค คือ
    1. คันตามผิวหนังมาก ทั้งๆ ที่ผิวหนังไม่มีผื่นอะไร อาการคันมักเป็นมากในเวลา กลางคืน จนรบกวนการนอนของผู้ป่วยและคนใกล้เคียง
    2. เป็นผื่นหรือตุ่มใสเล็กๆ เหมือนมีน้ำอยู่ในภายใน หรือเป็นปื้นหนาเห็นร่องของ ผิวหนังชัดเจนหรืออาจเป็นขุยลอกเป็นหย่อมๆ
    3. การกระจายของผื่นมักจะอยู่ในตำแหน่งที่จำเพาะ เช่น บริเวณข้อพับต่างๆ ของ ร่างกาย, แก้ม, ด้านนอกของแขน
    4. อาการดังกล่าวจะเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง และกำเริบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย เช่น อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง, อากาศหนาวเย็น, แห้งหรือร้อน
    5. มีประวัติการเจ็บป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ เช่น โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูก หอบ หืด ของคนในครอบครัวหรือตัวผู้ป่วยเอง

    นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีลักษณะบางอย่างที่ชวนให้สงสัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ลักษณะเหล่านี้ได้แก่ ขอบรอบตาสีเข้มขึ้น, ขอบตาล่างเป็นกระเปาะ, ริมฝีปากบนอักเสบ แดงเป็นขุย หรือมุมปากอักเสบเป็นๆ หายๆ

    1. ระยะที่เกิดการอักเสบของผิวหนัง เป็นระยะที่ผิวหนังของผู้ป่วยทนต่อสภาพแวดล้อมไม่ได้แล้ว จึงเกิดอาการอักเสบบวม แดงเป็นขุย หรือมีน้ำเหลืองเยิ้ม ร่วมกับการมีอาการคันมาก การแกะเกาของผู้ป่วย เป็น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผิวหนังอักเสบเพิ่มมากขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อ แบคทีเรียโดยเร็ว ยาแก้คันและยาลดไข้แก้ปวดจะช่วยลดอาการคัน และอาการไข้ของ ผู้ป่วย ผิวหนังที่มีน้ำเหลืองเยิ้มต้องใช้น้ำเกลือเช็ดล้างน้ำเหลืองออกบ่อยๆ เพื่อช่วยลด อาการระคายเคืองต่อผิวหนัง การติดเชื้อแบคทีเรียจะถูกกำจัดไปด้วยาปฏิชีวนะภายใน 5-7 วัน

    เนื่องจากผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง มักมีอาการผิวหนังอักเสบ เป็นๆ หายๆ ผู้ป่วย จำเป็นต้องใช้ยาแก้คันกลุ่มยาต้านฮีสตามีน และยาทากลุ่มสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน ดังนั้นทั้งผู้ป่วยและผู้อยู่ใกล้ชิดควรหาความรู้เรื่องยาต้านฮีสตามีน และยาทากลุ่มสเตีย- รอยด์ โดยสามารถสอบถามจากแพทย์ดูแลรักษา หรือหาซื้อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ในที่นี้ จะกล่าวถึงยา 2 กลุ่มนี้พอสังเขป 
    โรคภูมิแพ้ผิวหนัง(Atopic cezema)


    ยาต้านฮีสตามีน เป็นยาสามัญประจำบ้านชนิดหนึ่งมีฤทธิ์ แก้แพ้ แก้คัน และลด น้ำมูก เนื่องจากฤทธิ์ของยากว้างขวางมาก จึงมีการนำยานี้มาใช้รักษาโรคหลายชนิด เช่น โรคไข้หวัด โรคลมพิษ โรคภูมิแพ้เยื่อบุจมูก และโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
    1. ยาต้านฮีสตามีนที่มีผลข้างเคียงง่วงซึมมาก
    ยากลุ่มนี้มีใช้ในวงการแพทย์มานาน ฤทธิ์ของยาเหมือนกัน คือ ลดน้ำมูก แก้คัน แก้แพ้ ผลข้างเคียงเรื่องง่วงซึมพบได้บ่อย แต่มิได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย ฤทธิ์ในการลดน้ำ มูกและแก้คันดีมาก ราคาถูก ผลข้างเคียงที่รุนแรงอื่นพบน้อย ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังควร ใช้ยาชนิดนี้ระงับอาการคันก่อน ถ้าพบมีอาการง่วงซึมมาก ให้เปลี่ยนไปใช้ยาต้านฮีสตา- มีนในกลุ่มที่มีผลข้างเคียงง่วงซึมน้อย

    2. ยาต้านฮีสตามีนที่มีผลข้างเคียงง่วงซึมน้อย ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มนี้ ได้รับการ พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้มีผลข้างเคียงง่วงน้อยลง ฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ในการลดน้ำมูก แก้คัน ใกล้เคียงกับยากลุ่มแรก ผลข้างเคียงเรื่องง่วงซึมพบน้อย แต่ยังพบได้ในผู้ป่วยบางราย ข้อจำกัดของยากลุ่มนี้ คือ ราคาสูงกว่ากลุ่มแรก 20-30 เท่า ด้วยเหตุนี้จึงควรลองใช้ยาใน กลุ่มแรกก่อน ถ้ามีผลข้างเคียงจึงเปลี่ยนมาใช้ยากลุ่มหลัง ยากลุ่มนี้มีหลายตัว อาทิ astemzole, terfenadine และ loratadine ขนาดของยาแต่ละชนิดแตกต่างกัน ผู้ป่วยควร ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลว่าน่าจะใช้ยาชนิดใดในขนาดเท่าใด.....

    ที่มา:

    วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

    โรคภูมิแพ้คืออะไร


    โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติต่อสิ่งซึ่งสามารถก่อให้เกิดภูมิ แพ้ ( Allergen ) ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป


    โรคภูมิแพ้เกิดได้ทุกเพศทุกวัย เด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี มักพบว่าเป็นบ่อยกว่าช่วงอายุอื่น ๆ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรคแสดงออกหลังจากได้รับ “สิ่งกระตุ้น” มานานเพียงพอ อย่างไรก็บางคนอาจเริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้

    โรคภูมิแพ้นั้นมิใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากรุ่นคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณพ่อคุณแม่ มาสู่ลูกหลานได้ อาจพบว่าในครอบครัวนั้นมีสมาชิกป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หลายคน

    ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เรียกกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือ สิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก หรือโดยการฉีดหรือถูกกัดต่อยผ่านผิวหนัง ตัวการที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มีอยู่รอบตัว สามารถกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ จนก่อให้เกิดอาการแพ้ได้

     
    Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls