วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ทำไมเราต้องจาม(sneeze)
9.10.54
admin
No comments
จาม (อังกฤษ: sneeze หรือ sternutation) เป็นกลไกกึ่งอัตโนมัติของการขับลมออกจากปอดผ่านทางจมูกและปากอย่างรวดเร็ว มักเกิดจากอนุภาคแปลกปลอมระคายเคืองเยื่อเมือกของจมูก
หน้าที่ของการจาม
เป็นการขับเมือกซึ่งมีอนุภาคแปลกปลอมหรือสารระคายออก และช่วยทำความสะอาดโพรงจมูก ในระหว่างการจามเพดานอ่อนและลิ้นไก่กดลงในขณะที่ส่วนหลังของลิ้นยก ขึ้นเพื่อปิดช่องทางผ่านทางปากบางส่วน เพื่อให้ลมที่ถูกขับจากปอดจะออกมาผ่านทางจมูก และเนื่องจากปากปิดบางส่วนจึงทำให้มีปริมาณอากาศจำนวนหนึ่งผ่านออกทางปาก ด้วย แรงและปริมาณของการขับอากาศผ่านทางจมูกมีความหลากหลาย
การจามมักเกิดเมื่อมีอนุภาคแปลกปลอมหรือมีสิ่งกระตุ้นภายนอกที่เพียงพอผ่านขนจมูกมาถึงเยื่อเมือกของจมูก ซึ่งจะกระตุ้นให้ฮิสทามีนหลั่ง และเกิดการระคายเซลล์ประสาทในจมูกแล้วส่งสัญญาณประสาทไปยังสมองเพื่อกระตุ้นการจามผ่านทางเครือข่ายประสาทไทรเจมินัล (trigeminal nerve network) จากนั้นสมองแปรสัญญาณแรกเริ่ม กระตุ้นกล้ามเนื้อคอหอยและหลอดลม และมีการเปิดช่องปากและโพรงจมูกให้กว้างขึ้นเพื่อให้เกิดการปล่อยอากาศและ อณูชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ การจามที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยการทำงานของอวัยวะในส่วนบนของร่าง กายหลายอวัยวะ การจามเป็นการตอบสนองที่เป็นรีเฟล็กซ์ที่อาศัยใบหน้า คอ และกล้ามเนื้อหน้าอก เวลาที่จามนั้น อวัยวะทุกส่วนของร่ายกายจะหยุดทำงานชั่วขณะ รวมถึงหัวใจ
การจาม เป็นกลไกของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในโพรงจมูก สาเหตุที่ทำให้จามอาจเกิดจากไข้หวัด ภูมิแพ้ หรือการระคายเคืองต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ มลพิษ น้ำหอม หรืออากาศเย็น
จะสังเกตได้ว่าก่อนที่จะจาม เราจะรู้สึกว่าคันในจมูก จะมีการส่ง “สัญญาณคัน” ที่ว่านี้ขึ้นไปยังสมอง จากนั้นสมองจะสั่งให้เกิดการจามขึ้น เพื่อขับเอาสิ่งที่ระคายเคืองออกไปจากร่างกาย
ในการจามแต่ละครั้ง กล้ามเนื้อต่อไปนี้จะทำงานร่วมกัน ได้แก่ กล้ามเนื้อส่วนท้อง กล้ามเนื้อหน้าอก กะบังลม กล้ามเนื้อที่ควบคุมสายเสียง กล้ามเนื้อด้านหลังลำคอ และกล้ามเนื้อเปลือกตา (เราจึงไม่สามารถจามทั้งที่ยังลืมตาได้ ลองสังเกตตัวเองเวลาจามครั้งต่อไป ว่ากล้ามเนื้อเหล่านี้ทำงานร่วมกันอย่างไร)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น