เรามารู้จักโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q-10) <<โคเอ็นไซม์คิวเทน
(Co Q -10) เป็นสารประกอบคล้ายวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน
สามารถพบได้ในเซลล์ทั่วทุกแห่งของร่างกาย
มีบทบาทสำคัญในการสร้างพลังงานให้กับอวัยวะที่ต้องทำงานตลอดเวลา เช่น หัวใจ ตับ
กล้ามเนื้อ สมอง และระบบเลือด โดยปกติแล้วร่างกายจะได้รับโคเอ็นไซม์คิวเทน(Co
Q- 10) จากอาหารที่กินเข้าไป เช่น เนื้อสัตว์จากวัว
หมู ไก่ โดยเฉพาะหัวใจ ตับ และม้าม
ซึ่งในอาหารพบได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นในขณะเดียวกันร่างกายก็สามารถสังเคราะห์โคเอ็นไซม์คิวเทน(Co
Q-10) ที่ตับควบคู่ไปด้วย
โดยสังเคราะห์จากกรดอะมิโนที่ชื่อว่า ไทโรซีน (Tyrosine) และฟีนิลอะลานีน(Phenylalanine) กับวิตามินอีกหลายชนิด เช่นวิตามินบี2 วิตามินบี3วิตามินบี6 กรดโฟลิก วิตามินบี12 วิตามินซี และกรดแพนโททีนิก
แต่เมื่อคนเราอายุมากขึ้น มีความเครียด
ความสามารถในการสังเคราะห์โคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q-10) ที่ตับก็จะลดลง ปัจจุบันนี้เราเลยเห็นว่า
มีการนำเอาโคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q-10)
มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ และยา
รวมไปถึงเครื่องสำอางหลายยี่ห้อ
Co Q-10
ดีต่อระบบหัวใจอย่างไร
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาโคเอ็นไซม์คิวเทน(Co
Q-10) ได้รับการยกย่อง
จากนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นสารอาหารมหัศจรรย์ในร่างกาย มีผลดีต่อการทำงานของหัวใจ
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจให้ดีขึ้น
เพราะโคเอ็นไซม์คิวเท็น (Co Q-10)
ทำหน้าที่ช่วยกำจัดกรดแลกติกซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญที่ไม่ใช้ออกซิเจน
ซึ่งหากคนเรามีกรดแลกติกมากเกินไป ก็จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า นอกจากนี้โคเอ็นไซม์ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่เซลล์ ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ รวมไปถึงเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ช่วยให้เม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคได้ดีขึ้น บำรุงสมอง ลดการอุดตันของเส้นเลือด
ลดระดับความดันโลหิต ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจตีบ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
Co Q-10 กินเท่าไรจึงจะดีต่อสุขภาพ
ตามปกติแล้วร่างกายของเราต้องการโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q-10) ประมาณวันละ 30 มก.
จากอาหารที่กินเข้าไป แต่จากการประเมินทางการแพทย์ พบว่า
ร่างกายเราได้รับโคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q-10) เพียงวันละ 2-20มก. เท่านั้น แต่หากเราเน้นกินอาหารจำพวกถั่ว
อาหารทะเล ผักใบเขียวเพิ่มมากขึ้น
ก็จะทำให้ได้รับในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการป้องกันโรคหัวใจได้
แต่ในกรณีผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q-10) ต่ำกว่าปกติ ทำให้หัวใจไม่สามารถปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ
ได้เต็มที่ การได้รับโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q-10) เสริมตามลักษณะอาการและคำแนะนำของแพทย์
ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น เช่น
โรคหัวใจล้มเหลว ควรได้รับ 100-300 มก. ต่อวัน
รักษาอาการปวดอย่างรุนแรงที่หัวใจ ควรได้รับ
90-180 มก. ต่อวัน
รักษาโรคหัวใจและขยายกล้ามเนื้อหัวใจ
ควรได้รับ 180-360
มก. ต่อวัน เป็นต้น
แหล่งอาหารสำคัญของ Co Q-10
นอกจากเนื้อวัว หมู ไก่ หัวใจ ตับ ม้าม ถั่ว อาหารทะเล ผักใบเขียว
เรายังสามารถพบโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q-10)
ในเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ได้อีกเช่นกันเช่น ในน้ำมันปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาซาร์ดีน
ปลาแมคเคอเรล และปลาแซลมอน ในพืชบางชนิด เช่น รำข้าว หรือ แม้แต่อาหารที่มีเชื้อจุลินทรีย์
เช่น เชื้อราที่อยู่ในเนยแข็ง ยีสต์ที่ผสมอยู่ในขนมปังให้ขึ้นฟู
และบักเตรีในนมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต
ก็เป็นแหล่งอาหารที่เราได้รับโคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q-10) อยู่บ้างเหมือนกัน
นอกจากการกินอาหารเหล่านี้เป็นประจำทุกวันแล้ว
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและไม่เครียด
ก็ช่วยป้องกันหัวใจและทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ห่างไกลโรคได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น