ยาที่แพ้ ที่พบบ่อยได้แก่
ยาปฏิชีวนะเช่น Penicillin, Ampicillin, ยาประเภท Sulfa,
Tetracycline, Streptomycin, เป็นต้น
ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น Aspirin
ยาชา เช่น Xylocaine, Procain
เซรุ่มต่างๆ เช่น เซรุ่มแก้พิษงู เซรุ่มแก้บาดทะยัก
น้ำเกลือและเลือด
สัญญาณเตือนและอาการแพ้อาหารมีดังต่อไปนี้
-ปวดท้อง ถ่ายเหลว คลื่นไส้ หรืออาเจียน
-เป็นลม
-เป็นลมพิษ ผิวหนังบวมหรือผิวหนังอักเสบออกผื่น (เอ๊คซีมา)
-ริมผีปาก ตา ใบหน้า ลิ้น และคอ บวม
-คัดจมูกและเป็นหืด
-ปวดท้อง ถ่ายเหลว คลื่นไส้ หรืออาเจียน
-เป็นลม
-เป็นลมพิษ ผิวหนังบวมหรือผิวหนังอักเสบออกผื่น (เอ๊คซีมา)
-ริมผีปาก ตา ใบหน้า ลิ้น และคอ บวม
-คัดจมูกและเป็นหืด
อาการ
1. ในรายที่มีอาการแพ้อ่อนๆ อาจมีเพียงลมพิษ ผื่นคัน หรือมีผื่นแดง จุดแดงหรือตุ่มใสเล็กๆขึ้นทั่วตัว หน้าบวม
หนังตาบวม ริมฝีปากบวม มักเกิดจากการกินยาเม็ด เช่น แอสไพริน เพนวี แอมพิซิลลิน ยาประเภทซัลฟา
2. ในรายที่มีอาการแพ้ขนาดกลาง อาจมีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน หรือหายใจขัดคล้ายหืด
มักเกิดจากการใช้ยาฉีด
3. ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีอาการเป็นลม ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ และหยุดหายใจ มักเกิดหลังจากฉีดยาประเภทเพนิซิลลิน หรือเซรุ่มในทันทีทันใด บางครั้งอาจถึงแก่ความตายแบบที่เรียกว่า "คาเข็ม" ได้เราเรียกอาการแพ้ยารุนแรงชนิดนี้ว่า ช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)หรืออาจพบเป็นลักษณะพุพอง หนังเปื่อยลอกทั้งตัวคล้ายถูกไฟลวก ปากเปื่อย ตาอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ มีไข้ ซึ่งเรียกว่ากลุ่มอาการสตีเวนจอห์นสัน (Stevens Johnson Syndrome)
4. ในการแพ้เลือด หรือน้ำเกลือ มักมีอาการไข้ หนาวสั่นหรือลมพิษขึ้น โดยทั่วไป
ยาชนิดฉีดจะทำให้เกิดอาการรุนแรงและรวดเร็วมากกว่าชนิดกิน
1. ในรายที่มีอาการแพ้อ่อนๆ อาจมีเพียงลมพิษ ผื่นคัน หรือมีผื่นแดง จุดแดงหรือตุ่มใสเล็กๆขึ้นทั่วตัว หน้าบวม
หนังตาบวม ริมฝีปากบวม มักเกิดจากการกินยาเม็ด เช่น แอสไพริน เพนวี แอมพิซิลลิน ยาประเภทซัลฟา
2. ในรายที่มีอาการแพ้ขนาดกลาง อาจมีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน หรือหายใจขัดคล้ายหืด
มักเกิดจากการใช้ยาฉีด
3. ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีอาการเป็นลม ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ และหยุดหายใจ มักเกิดหลังจากฉีดยาประเภทเพนิซิลลิน หรือเซรุ่มในทันทีทันใด บางครั้งอาจถึงแก่ความตายแบบที่เรียกว่า "คาเข็ม" ได้เราเรียกอาการแพ้ยารุนแรงชนิดนี้ว่า ช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)หรืออาจพบเป็นลักษณะพุพอง หนังเปื่อยลอกทั้งตัวคล้ายถูกไฟลวก ปากเปื่อย ตาอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ มีไข้ ซึ่งเรียกว่ากลุ่มอาการสตีเวนจอห์นสัน (Stevens Johnson Syndrome)
4. ในการแพ้เลือด หรือน้ำเกลือ มักมีอาการไข้ หนาวสั่นหรือลมพิษขึ้น โดยทั่วไป
ยาชนิดฉีดจะทำให้เกิดอาการรุนแรงและรวดเร็วมากกว่าชนิดกิน
การรักษา
1. ในรายที่มีอาการแพ้อ่อนๆ ให้เลิกใช้ยาที่แพ้ แล้วให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน หรือ ไดเฟนไฮดรามีน ฝ-1 หลอด
ฉีด เข้ากล้าม หรือให้อย่างเม็ดกินวันละ 3-4 ครั้ง ๆละ 1/2 -1 เม็ด จนกว่าจะหาย
2. ในรายที่มีอาการขนาดปานกลาง หรือรุนแรง ให้ฉีดแอดรีนาลีน 0.3-0.5 มล. หรือ สเตอรอยด์ เช่น เดกซาเมทาโซน 1-2
หลอด เข้ากล้ามหรือเข้าเส้นเลือดันที ถ้าไม่ดีขึ้นให้ส่งโรงพยาบาลด่วน
3. ในรายที่หยุดหายใจ ให้ทำการปอด พร้อมกับฉีดยาแอดรีนาลีน
4. ในรายที่เป็นแบบกลุ่มสตีเวนจอห์นสัน ให้เลิกใช้ยาที่แพ้ ให้ยาแก้แพ้ หรือสเตอรอยด์แล้วส่งโรงพยาบาลทันที
เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ กลายเป็นโลหิตเป็นพิษถึงตายได้
1. ในรายที่มีอาการแพ้อ่อนๆ ให้เลิกใช้ยาที่แพ้ แล้วให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน หรือ ไดเฟนไฮดรามีน ฝ-1 หลอด
ฉีด เข้ากล้าม หรือให้อย่างเม็ดกินวันละ 3-4 ครั้ง ๆละ 1/2 -1 เม็ด จนกว่าจะหาย
2. ในรายที่มีอาการขนาดปานกลาง หรือรุนแรง ให้ฉีดแอดรีนาลีน 0.3-0.5 มล. หรือ สเตอรอยด์ เช่น เดกซาเมทาโซน 1-2
หลอด เข้ากล้ามหรือเข้าเส้นเลือดันที ถ้าไม่ดีขึ้นให้ส่งโรงพยาบาลด่วน
3. ในรายที่หยุดหายใจ ให้ทำการปอด พร้อมกับฉีดยาแอดรีนาลีน
4. ในรายที่เป็นแบบกลุ่มสตีเวนจอห์นสัน ให้เลิกใช้ยาที่แพ้ ให้ยาแก้แพ้ หรือสเตอรอยด์แล้วส่งโรงพยาบาลทันที
เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ กลายเป็นโลหิตเป็นพิษถึงตายได้
การป้องกัน
1. ทุกครั้งที่ให้ยา ควรถามประวัติการแพ้ยาในอดีตที่ผ่านมา และประวัติโรคภูมิแพ้ของผู้ป่วยและในครอบครัวของผู้ป่วย
ถ้ามีประวัติเหล่านี้ ควรระมัดระวังในการใช้ยาให้มาก และควรแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตดูอาการแพ้ยาที่อาจเกิดขึ้น
ถ้ามีอาการให้รีบหยุดยา แล้วกลับไปหาหมอที่รักษาทันที
2. อย่าฉีดยาอย่างพร่ำเพรื่อ ทุกครั้งที่ฉีดยาโดยเฉพาะยาที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย เช่น เพนิซิลลิน หรือเซรุ่ม
ควรทำการทดสอบผิวหนังก่อน และควรมียาแก้แพ้ สเตอรอยด์ และแอดรีนาลีน
ตลอดจนอุปกรณ์ในการช่วยผายปอดไว้ให้พร้อม
3. ถ้าพบผู้ป่วยแพ้ยา ควรแนะนำให้ผู้ป่วยรู้ว่าแพ้ยาอะไร และห้ามกินยาชนิดนั้นๆ หรือยายี่ห้อต่างๆ
ที่เข้ายาชนิดนั้นอีกต่อไป และแนะนำผู้ป่วยว่าทุกครั้งที่หาหมอควรจะบอกหมอว่าเคยแพ้ยาอะไร
4. อาการแพ้ยา มักจะเกิดเมื่อผู้ป่วยเคยได้รับยาชนิดนั้นมาก่อนหลายๆครั้ง ในทารกหรือเด็กอ่อนที่ไม่ได้รับยามาก่อน
จึงมีโอกาสแพ้ยาน้อย ส่วนคนที่เคยได้รับยา (โดยเฉพาะยาฉีด) มาก่อนหลายๆครั้ง โอกาสที่จะแพ้ยาชนิดนั้นก็สูงขึ้นตามลำดับ ดังนั้นยิ่งใช้ยาบ่อยครั้งขึ้นเท่าไหร่ ก็พึงระวังการเกิดอาการแพ้มากขึ้นเท่านั้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น