วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง



โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) เป็นโรคที่เกิด จากภูมิต้านทานในร่างกายของเราชนิดหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ภูมิต้านทาน ชนิดนี้เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (ANTIBODIES) ซึ่งปกติจะมีหน้าที่จับและทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคจากภายนอกร่างกาย  แต่โปรตีนชนิดนี้ ในผู้ป่วยโรคลูปัสจะจับ และทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยโรคลูปัสเอง ขึ้นกับว่าจะจับอวัยวะใด เช่น ถ้าจับที่ผิวหนังก็จะทำให้เกิดผื่น  ถ้าจับกับไต ก็จะทำให้เกิดการอักเสบของไต จับกับเยื่อหุ้มข้อ ก็จะเกิด ข้ออักเสบขึ้น  จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง
ผู้ป่วยด้วยโรคเอส แอล อี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง อายุระหว่าง 20-45 ปีโดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 9-10 เท่า พบได้ในทุกเชื้อชาติ จะพบในคนผิวดำและผิวเหลืองมากกว่าผิวขาว จะพบมากในบริเวณเอเชียตะวันออก เช่น ในประเทศไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฮ่องกง, และจีน จากความรู้ของ แพทย์ที่เพิ่มขึ้นประกอบกับความตระหนักรู้ของประชาชนทำให้พบผู้ป่วยโรคเอส แอล อี เพิ่มมากขึ้น

กล่าวคือโรคเอส แอล อี คือโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่โดยปกติทำหน้าที่ต่อต้าน และทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย ผ่านกลไกของเม็ดเลือดขาว แอนติบอดี การอักเสบ เป็นต้น แต่สิ่งที่ผิดปกติคือ ร่างกายกลับให้ระบบภูมิคุ้มกัน ต่อต้านเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ของร่างกายตนเอง ในระบบอวัยวะต่างๆ ซึ่งต่างจากคำว่า "โรคภูมิแพ้" ซึ่งหมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมไวเกินกว่าปกติ เป็นผลให้เกิดการอักเสบขึ้น เช่น แพ้อากาศ หอบหืด เป็นต้น แต่ไม่มีการต่อต้านเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของตนเอง
จาก ปกติที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัสจากภายนอกร่างกาย  แต่กลับต่อต้านร่างกายของตัวเอง จนทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ  ถ้าเป็นรุนแรงจะมีการทำลายอวัยวะภายในด้วย เช่น ไต หัวใจ ปอด และระบบประสาท
สำหรับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนบางคนเป็นรุนแรง บางคนเป็นไม่รุนแรง และในรายที่เป็นไม่รุนแรงวันดีคืนร้ายก็จะเป็นรุนแรงขึ้นมาได้อีก ในปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการของโรคให้สงบ และดำเนินชีวิตได้ตามปกติหากรักษาได้ทันท่วงที
อาการที่แสดงออกของผู้ป่วย
   อาการแทรกซ้อน อาจทำให้ไตอักเสบ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ หัวใจวาย ไตวาย และอาจเกิดภาวะติดเชื้อร้ายแรงแทรกซ้อนได้
·         ผื่นแดงที่ใบหน้า บริเวณโหนกแก้ม และสันจมูก ลักษณะคล้ายผีเสื้อ
·         อาการแพ้แสง
·         การอักเสบของเยื่อบุ เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ
·         แผลในปาก
·         อาการแสดงในระบบเลือด (เช่น ซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ)
·         ข้ออักเสบชนิดหลายข้อ และมักเป็นทั้ง 2 ข้างเหมือนๆ กัน
·         อาการแสดงในระบบประสาท (เช่น ชัก ซึม ซึ่งอธิบายจากสาเหตุอื่นมิได้)
·         อาการแสดงในระบบไต (เช่น มีความผิดปกติของปัสสาวะ มีโปรตีนในปัสสาวะ)
·         การตรวจเลือดหา Antinuclear antibody ให้ผลบวก

      การรักษาในรายที่รุนแรง ควรให้สเตอรอยด์ เช่น Prednisoloneขนาด 8-12 เม็ดต่อวัน ติดต่อกันเป็นสัปดาห์หรือหลายเดือนเพื่อลดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องให้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือ ยากดอิมมูน (Immunosuppresive) เช่น ไซโคลนฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) อะชาไทโอพรีม (Azathioprine) เป็นต้น ยานี้เป็นยาอันตราย อาจทำให้ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อหยุดยาผมจะงอกขึ้นใหม่ได้

      ในรายที่เป็นไม่รุนแรง (เช่น มีไข้ ปวดข้อ มีผื่นแดงขึ้นที่หน้า) อาจให้คลอโรควีน วันละ 1-2 เม็ด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ จนเลิกหรือเลิกใช้Prednisoloneลงได้

      นอกจากนี้ อาจให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาบำรุงโลหิต (ถ้าซีด) ยาปฏิชีวนะ (ถ้ามีอาการติดเชื้อ) เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคนี้ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร
1.พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดตั้งแต่ช่วง 10.00 - 16.00 น. ถ้าจำเป็นให้กางร่ม ใส่หมวก สวมเสื้อแขนยาว ใช้ยาทากันแดด
2.พักผ่อนให้เพียงพอ
3.ไม่กินอาหารที่ไม่สุกหรือไม่สะอาด
4.หลีกเลี่ยงความตึงเครียด พยายามฝึกจิตใจให้ปล่อยวาง ทำใจยอมรับกับโรคและปัญหาอื่น ๆ
5. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ    
6.กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง
7.ไม่กินยาเองโดยไม่จำเป็นเพราะยาบางตัวอาจทำให้โรคกำเริบได้
8.ป้องกันการตั้งครรภ์ขณะโรคยังไม่สงบ และหลีกเลี่ยงการคุมกำเนิดโดยวิธีใส่ห่วง เพราะมีโอกาสติดเชื้อสูงกว่าคนปกติ
9.เมื่อโรคอยู่ในระยะสงบสามารถตั้งครรภ์ได้ โดยได้รับการตรวจจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
10.หลีกเลี่ยงจากสถานที่แออัดและไม่เข้าใกล้ผู้ที่กำลังเป็นโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด เพราะมีโอกาสติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้ง่าย
11.ถ้ามีลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ เช่น ไข้สูง หนาวสั่น มีฝีตุ่มหนองตามผิวหนัง ไอเสมหะเหลืองเขียว ปัสสาวะแสบขัด ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
12.หากกินยากดภูมิคุ้มกันอยู่ให้หยุดยานี้ชั่วคราวในระหว่างที่มีการติดเชื้อ
13.ถ้ามีอาการผิดปกติที่เป็นอาการของโรคกำเริบให้มาพบแพทย์ก่อนนัด เช่น มีอาการไข้เป็น ๆ หาย ๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด บวม ผมร่วง ผื่นใหม่ ๆ ปวดข้อ เป็นต้น
14.ถ้ามีการทำฟัน หรือถอนฟัน ให้กินยาปฏิชีวนะก่อนและหลังทำฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยต้องปรึกษาแพทย์สม่ำเสมอ
15.มาตรวจตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
ข้อแนะนำ
        - โรคนี้มักแสดงอาการได้หลายแบบ เช่น มีไข้เรื้อรังคล้ายมาลาเรีย มีจุดแดงขึ้นคล้าย ไอทีพี บวมคล้ายโรคไต ชักหรือหมดสติคล้ายสมองอักเสบเสียสติ เพ้อคลั่งคล้ายคนวิกลจริต เป็นต้น ดังนั้นถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นอาการของระบบใด โดยไม่ทราบสาเหตุให้นึกถึงโรคนี้ไว้เสมอ
      - โรคนี้ถึงแม้จะมีความรุนแรง แต่ถ้าติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยลดอาการแทรกซ้อน และมีชีวิตยืนยาวได้ 
        - ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจป้องกันมิให้อาการกำเริบได้ โดยการทำจิตใจให้สบายอย่าท้อแท้สิ้นหวังหรือวิตกกังวลจนเกินไป ส่วนผู้ที่แพ้แดดง่ายควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแดด ถ้าจำเป็นต้องออกกลางแดด ควรกางร่ม ใส่หมวกใส่เสื้อแขนยาว
      -  ควรพยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ เช่น อย่ากินอาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด อย่าเข้าใกล้คนที่ไม่สบาย อย่าเข้าไปในที่ๆ มีคนแออัด เป็นต้น และทุกครั้งที่รู้สึกไม่สบาย ควรรีบไปหาหมอที่เคยรักษา
ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอล อี แน่ชัด  แต่มี หลักฐานที่บ่งบอกว่าจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ
       1. กรรมพันธุ์
       2. ฮอร์โมนเพศหญิง
       3. ภาวะติดเชื้อบางชนิด, โดยเฉพาะเชื้อไวรัส
       นอกจากนี้เรายังทราบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรค เอส แอล อี มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น
        1. แสงแดด โดยเฉพาะ แสงอุลตร้าไวโอเลต
        2. การตั้งครรภ์
        3. ยาบางชนิด

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อาการแพ้ยา (Drug hypersensitivity)



         
               
                   อาการแพ้ยาเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งมาก่อน และคนที่มีประวัติของโรคภูมิแพ้ (เช่น หืด หวัดเรื้อรัง ลมพิษ ผื่นคัน) จะมีโอกาสแพ้ยามากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นในการใช้ยาแต่ละครั้ง ควรใช้ยออย่างระมัดระวังเป็นอย่างมาก ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้เกินความจำเป็น
ยาที่แพ้ ที่พบบ่อยได้แก่
ยาปฏิชีวนะเช่น Penicillin, Ampicillin, ยาประเภท Sulfa, Tetracycline, Streptomycin, เป็นต้น
ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น Aspirin
ยาชา เช่น Xylocaine, Procain
เซรุ่มต่างๆ เช่น เซรุ่มแก้พิษงู เซรุ่มแก้บาดทะยัก
น้ำเกลือและเลือด   
สัญญาณเตือนและอาการแพ้อาหารมีดังต่อไปนี้
-ปวดท้อง ถ่ายเหลว คลื่นไส้ หรืออาเจียน
-เป็นลม
-เป็นลมพิษ ผิวหนังบวมหรือผิวหนังอักเสบออกผื่น (เอ๊คซีมา)
-ริมผีปาก ตา ใบหน้า ลิ้น และคอ บวม
-คัดจมูกและเป็นหืด             
  อาการ

         
1. ในรายที่มีอาการแพ้อ่อนๆ อาจมีเพียงลมพิษ ผื่นคัน หรือมีผื่นแดง จุดแดงหรือตุ่มใสเล็กๆขึ้นทั่วตัว หน้าบวม
หนังตาบวม ริมฝีปากบวม มักเกิดจากการกินยาเม็ด เช่น แอสไพริน เพนวี แอมพิซิลลิน ยาประเภทซัลฟา

          2. ในรายที่มีอาการแพ้ขนาดกลาง อาจมีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน หรือหายใจขัดคล้ายหืด
มักเกิดจากการใช้ยาฉีด
          3. ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีอาการเป็นลม ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ และหยุดหายใจ มักเกิดหลังจากฉีดยาประเภทเพนิซิลลิน หรือเซรุ่มในทันทีทันใด บางครั้งอาจถึงแก่ความตายแบบที่เรียกว่า "คาเข็ม" ได้เราเรียกอาการแพ้ยารุนแรงชนิดนี้ว่า ช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock)หรืออาจพบเป็นลักษณะพุพอง หนังเปื่อยลอกทั้งตัวคล้ายถูกไฟลวก ปากเปื่อย ตาอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ มีไข้ ซึ่งเรียกว่ากลุ่มอาการสตีเวนจอห์นสัน (Stevens Johnson  Syndrome)
          4. ในการแพ้เลือด หรือน้ำเกลือ มักมีอาการไข้ หนาวสั่นหรือลมพิษขึ้น โดยทั่วไป
ยาชนิดฉีดจะทำให้เกิดอาการรุนแรงและรวดเร็วมากกว่าชนิดกิน


 การรักษา

1. ในรายที่มีอาการแพ้อ่อนๆ ให้เลิกใช้ยาที่แพ้ แล้วให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน หรือ ไดเฟนไฮดรามีน ฝ-1 หลอด
ฉีด   เข้ากล้าม  หรือให้อย่างเม็ดกินวันละ 3-4 ครั้ง ๆละ 1/2  -1 เม็ด จนกว่าจะหาย
2. ในรายที่มีอาการขนาดปานกลาง หรือรุนแรง ให้ฉีดแอดรีนาลีน 0.3-0.5 มล. หรือ สเตอรอยด์ เช่น เดกซาเมทาโซน 1-2
หลอด เข้ากล้ามหรือเข้าเส้นเลือดันที ถ้าไม่ดีขึ้นให้ส่งโรงพยาบาลด่วน
3. ในรายที่หยุดหายใจ ให้ทำการปอด พร้อมกับฉีดยาแอดรีนาลีน
4. ในรายที่เป็นแบบกลุ่มสตีเวนจอห์นสัน ให้เลิกใช้ยาที่แพ้ ให้ยาแก้แพ้ หรือสเตอรอยด์แล้วส่งโรงพยาบาลทันที
เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ กลายเป็นโลหิตเป็นพิษถึงตายได้

 การป้องกัน

1. ทุกครั้งที่ให้ยา ควรถามประวัติการแพ้ยาในอดีตที่ผ่านมา และประวัติโรคภูมิแพ้ของผู้ป่วยและในครอบครัวของผู้ป่วย
ถ้ามีประวัติเหล่านี้ ควรระมัดระวังในการใช้ยาให้มาก และควรแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตดูอาการแพ้ยาที่อาจเกิดขึ้น
ถ้ามีอาการให้รีบหยุดยา แล้วกลับไปหาหมอที่รักษาทันที
2. อย่าฉีดยาอย่างพร่ำเพรื่อ ทุกครั้งที่ฉีดยาโดยเฉพาะยาที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย เช่น เพนิซิลลิน หรือเซรุ่ม
ควรทำการทดสอบผิวหนังก่อน และควรมียาแก้แพ้ สเตอรอยด์ และแอดรีนาลีน
ตลอดจนอุปกรณ์ในการช่วยผายปอดไว้ให้พร้อม
3. ถ้าพบผู้ป่วยแพ้ยา ควรแนะนำให้ผู้ป่วยรู้ว่าแพ้ยาอะไร และห้ามกินยาชนิดนั้นๆ หรือยายี่ห้อต่างๆ
ที่เข้ายาชนิดนั้นอีกต่อไป และแนะนำผู้ป่วยว่าทุกครั้งที่หาหมอควรจะบอกหมอว่าเคยแพ้ยาอะไร
4. อาการแพ้ยา มักจะเกิดเมื่อผู้ป่วยเคยได้รับยาชนิดนั้นมาก่อนหลายๆครั้ง ในทารกหรือเด็กอ่อนที่ไม่ได้รับยามาก่อน
จึงมีโอกาสแพ้ยาน้อย ส่วนคนที่เคยได้รับยา (โดยเฉพาะยาฉีด) มาก่อนหลายๆครั้ง โอกาสที่จะแพ้ยาชนิดนั้นก็สูงขึ้นตามลำดับ ดังนั้นยิ่งใช้ยาบ่อยครั้งขึ้นเท่าไหร่ ก็พึงระวังการเกิดอาการแพ้มากขึ้นเท่านั้น

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Co Q-10 สูตรลับ สำหรับหัวใจที่แข็งแรง

เชื่อว่าสาวๆ และหลายๆคน คงเคยได้ยินชื่อของโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q 10) กันมาบ้างแล้ว เพราะเป็นส่วนผสมหนึ่งของเครื่องสำอางและอาหารเสริมเพื่อถนอมผิวพรรณลดเลือนริ้วรอย หรือชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิว ที่เคยซื้อใช้กัน แต่ในทางการแพทย์แล้ว Co Q- 10 ไม่ได้เป็นสารที่พบได้เฉพาะเครื่องสำอางและอาหารเสริมเท่านั้น หากยังพบได้ในร่างกายของเราและเป็นสารอาหารมหัศจรรย์ที่มีบทบาทต่ออวัยวะที่ต้องการพลังงานมากและทำงานหนักที่สุดในร่างกายของเราอย่าง หัวใจอีกด้วย


     
เรามารู้จักโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q-10) <<โคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q -10) เป็นสารประกอบคล้ายวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน สามารถพบได้ในเซลล์ทั่วทุกแห่งของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสร้างพลังงานให้กับอวัยวะที่ต้องทำงานตลอดเวลา เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง และระบบเลือด โดยปกติแล้วร่างกายจะได้รับโคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q- 10) จากอาหารที่กินเข้าไป เช่น เนื้อสัตว์จากวัว หมู ไก่ โดยเฉพาะหัวใจ ตับ และม้าม ซึ่งในอาหารพบได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นในขณะเดียวกันร่างกายก็สามารถสังเคราะห์โคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q-10) ที่ตับควบคู่ไปด้วย โดยสังเคราะห์จากกรดอะมิโนที่ชื่อว่า ไทโรซีน (Tyrosine) และฟีนิลอะลานีน(Phenylalanine) กับวิตามินอีกหลายชนิด เช่นวิตามินบี2 วิตามินบี3วิตามินบี6 กรดโฟลิก วิตามินบี12 วิตามินซี และกรดแพนโททีนิก แต่เมื่อคนเราอายุมากขึ้น มีความเครียด ความสามารถในการสังเคราะห์โคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q-10) ที่ตับก็จะลดลง ปัจจุบันนี้เราเลยเห็นว่า มีการนำเอาโคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q-10) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ และยา รวมไปถึงเครื่องสำอางหลายยี่ห้อ

     Co Q-10 ดีต่อระบบหัวใจอย่างไร
     ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาโคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q-10) ได้รับการยกย่อง จากนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นสารอาหารมหัศจรรย์ในร่างกาย มีผลดีต่อการทำงานของหัวใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจให้ดีขึ้น เพราะโคเอ็นไซม์คิวเท็น (Co Q-10) ทำหน้าที่ช่วยกำจัดกรดแลกติกซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งหากคนเรามีกรดแลกติกมากเกินไป ก็จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า นอกจากนี้โคเอ็นไซม์ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่เซลล์ ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ รวมไปถึงเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยให้เม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคได้ดีขึ้น บำรุงสมอง ลดการอุดตันของเส้นเลือด ลดระดับความดันโลหิต ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจตีบ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

     Co Q-10 กินเท่าไรจึงจะดีต่อสุขภาพ
     ตามปกติแล้วร่างกายของเราต้องการโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q-10) ประมาณวันละ 30 มก. จากอาหารที่กินเข้าไป แต่จากการประเมินทางการแพทย์ พบว่า ร่างกายเราได้รับโคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q-10) เพียงวันละ 2-20มก. เท่านั้น แต่หากเราเน้นกินอาหารจำพวกถั่ว อาหารทะเล ผักใบเขียวเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้ได้รับในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการป้องกันโรคหัวใจได้ แต่ในกรณีผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q-10) ต่ำกว่าปกติ ทำให้หัวใจไม่สามารถปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เต็มที่ การได้รับโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q-10) เสริมตามลักษณะอาการและคำแนะนำของแพทย์ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น เช่น
     โรคหัวใจล้มเหลว ควรได้รับ 100-300 มก. ต่อวัน
     รักษาอาการปวดอย่างรุนแรงที่หัวใจ ควรได้รับ 90-180 มก. ต่อวัน
     รักษาโรคหัวใจและขยายกล้ามเนื้อหัวใจ ควรได้รับ 180-360 มก. ต่อวัน เป็นต้น
     
แหล่งอาหารสำคัญของ Co Q-10 
นอกจากเนื้อวัว หมู ไก่ หัวใจ ตับ ม้าม ถั่ว อาหารทะเล ผักใบเขียว เรายังสามารถพบโคเอ็นไซม์คิวเทน (Co Q-10) ในเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ได้อีกเช่นกันเช่น ในน้ำมันปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และปลาแซลมอน ในพืชบางชนิด เช่น รำข้าว หรือ แม้แต่อาหารที่มีเชื้อจุลินทรีย์ เช่น เชื้อราที่อยู่ในเนยแข็ง ยีสต์ที่ผสมอยู่ในขนมปังให้ขึ้นฟู และบักเตรีในนมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต ก็เป็นแหล่งอาหารที่เราได้รับโคเอ็นไซม์คิวเทน(Co Q-10) อยู่บ้างเหมือนกัน
     นอกจากการกินอาหารเหล่านี้เป็นประจำทุกวันแล้ว การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและไม่เครียด ก็ช่วยป้องกันหัวใจและทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ห่างไกลโรคได้
  
 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls