วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด การป้องกันและรักษา



                
อากาศ เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองกับสิ่งที่เราแพ้แล้วทำให้เกิด อาการภูมิแพ้ได้รุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนหรืออากาศเย็น อุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงกว่าปกติจะไปกระตุ้นให้อาการโรคภูมิแพ้กำเริบมากยิ่งขึ้น
ไม่เฉพาะโรคภูมิแพ้เท่านั้นที่พบบ่อยหรือกำเริบรุนแรงมากขึ้นเมื่อ อากาศเปลี่ยนแปลง แต่ยังพบโรคหืด โรคไข้หวัด และโรคผิวหนังแห้งแตกได้บ่อยขึ้นหรือรุนแรง มากขึ้นเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงดังนั้น เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว จึงพบโรคภูมิแพ้ในโพรงจมูก โรคหืด ไข้หวัด และโรคผิวหนังอักเสบแห้งแตกได้บ่อยและรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่ออากาศมีการเปลี่ยนแปลง
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ควรปฏิบัติตัวดังนี้
ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ในโพรงจมูก โรคหืด ไข้หวัด และโรคผิวหนังอักเสบควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยการสวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อช่วยไม่ให้อากาศหนาวเย็นหรืออุณหภูมิต่ำมากระทบกับร่างกายเรา พร้อมทั้งรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในสภาวะปกติ
นอกจากนี้ ควรรักษาสุขภาพให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรงอยู่เสมอ
 1.ด้านการพักผ่อนให้เพียงพอ ควรจะพักผ่อนวันละอย่างน้อย ๖_๘ ชั่วโมง ไม่นอนดึกจนเกินไปหรืออดนอน ในกรณีที่นอนดึก ก็ไม่ควรตื่นนอนแต่เช้า ควรนอนต่อเป็นระยะเวลาที่นานเพียงพอ โดยอาจจะตื่นนอนสายหน่อย เพื่อให้เกิดการพักผ่อนที่เพียงพอ
2.ด้านการกินอาหาร ควรเลือกกินอาหารทั้งชนิดและปริมาณอาหารที่เพียงพอเหมาะสมกับร่างกายไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้พลังงานและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายในแต่ละวัน และถูกสุขอนามัยที่ดีต่อร่างกาย
3.ด้านการออกกำลังกาย ควรออกกำลังให้เหมาะสมกับวัยและอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการวิ่ง การเดิน หรือการทำงานในกิจวัตรประจำวันที่ออกเหงื่อก็ได้ เช่น การกวาดบ้าน ล้างรถ เป็นต้น ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยครั้งละประมาณ ๓๐ นาที หรือครึ่งชั่วโมง สัปดาห์ละ ๓ ครั้ง ถ้าออกกำลังกายได้นานหรือบ่อยกว่านี้ได้ก็จะยิ่งดีซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางร่างกาย (ซึ่งรวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน) และจิตใจ การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดความเครียดให้แก่จิตใจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
4.ด้านรักษาสภาวะจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสร่าเริงอยู่เสมอ ไม่เคร่งเครียด หรือเศร้าหมอง ซึ่งมีกลวิธีต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย เล่นโยคะ นั่งสมาธิ เดินจงกรม การฟังเพลง และการพักผ่อนนอกสถานที่ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางแล้วว่า ความเครียดที่มากและนานเกินไปส่งผลเสียอย่างมหาศาลต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งรวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของภูมิต้านทานของเราด้วย

ดังนั้น การรักษาสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ที่สุด ตามประเด็นต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วนี้จะช่วยส่งเสริม สุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ และจะช่วยป้องกันต้านทานมลพิษ สารก่อภูมิแพ้ หรือจุลชีพจากภายนอก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย ซึ่งรวมถึงระบบ ภูมิคุ้มกันของเราให้สมบูรณ์พร้อมต่อการเผชิญของการเปลี่ยนแปลงอากาศทั้ง หนาว เย็น และแห้งในฤดูหนาว

             
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ให้ตัวเรา และคนในบ้านเป็นโรคหอบหืดได้แก่
1.ไม่ควรสูบบุหรี่
2.ว่าที่คุณแม่ไม่ควรสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ (ท้อง) เนื่องจากจะทำให้คุณลูกเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืดมากขึ้นด้วย สมรรถภาพปอดก็ลดลงด้วย
3.สารระคายเคืองในที่ทำงาน โดยเฉพาะที่ทำงานที่ติดแอร์แล้วไม่ล้างไส้กรองเลย และการระบายอากาศก็ไม่ดีอีกต่างหาก หรือมีเชื้อรา
4.ไรฝุ่น โดยเฉพาะหมอน ที่นอน หรือฟูกเก่านานเกิน 2 ปี (ควรเปลี่ยน)
5.แมลงสาบ... การศึกษาหนึ่งรายงานพบว่า เด็กๆ ในบ้านที่มีมูล (ขี้) แมลงสาบเสี่ยงหอบหืดเพิ่ม 4 เท่า
6.การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ มีส่วนทำให้อาการหอบกำเริบเกิน 50%      ในผู้ใหญ่ วิธีป้องกันที่ดีคือ การล้างมือด้วยสบู่ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ การไม่เข้าไปในที่ที่มีการระบายอากาศ ไม่ดี โดยเฉพาะห้องแอร์ที่มีคนอยู่มากๆ ฯลฯ
 7.ไม่ควรเลี้ยง สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน เช่น แมว สุนัข เป็นต้น
 8.ควรดูแลรักษาที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ

 

การดูแลรักษาโรคภูมิแพ้มีหลักการใหญ่ๆ 3 ด้าน ดังนี้
1. การค้นหาสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
2. การใช้ยารักษา
3. การรักษาด้วยวัคซีนสารก่อภูมิแพ้
1. การค้นหาสารก่อภูมิแพ้โรค หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
เมื่อ รักษาร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ควรค้นหาสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งถ้าพบว่า แพ้สารก่อภูมิแพ้ใด และสามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็จะปลอดภัยจากอาการแพ้ ไม่มีอาการแพ้อีกเลย
สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยในประเทศไทยคือ ฝุ่น ไรฝุ่น แมลงสาบ เชื้อรา และเกสรดอกไม้ ซึ่งแตกต่างกับในประเทศตะวันตกที่พบ การแพ้เกสรดอกไม้ได้บ่อยกว่า
2. การใช้ยารักษา
ใน กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา เช่น หาสาเหตุและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ไม่ได้ ยาที่ใช้เพื่อควบคุมอาการแพ้ แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ ยาต้านฮิสตามีน และยาสเตรียรอยด์
ยาต้านฮิสตามีน ที่เป็นที่รู้จักกัน คือ คลอร์เฟ-นิรามีน หรือเรียกอีกอย่างว่า cpmหรือไฮดรอกไซซีน ยาทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นยาที่ใช้ได้ผลดีในการรักษาโรคภูมิแพ้ และราคาย่อมเยา แต่มีข้อเสียคือทำให้ง่วง ปากแห้ง คอแห้ง และหิวน้ำบ่อย ในรายที่ต้องทำงานที่เสี่ยงอันตราย เช่น ขับรถ ทำงานเครื่องจักร ทำงานในที่สูง เป็นต้น ก็ควรหลีกเลี่ยงยาชนิดนี้ โดยไปใช้ยาในกลุ่มใหม่ เช่น ลอราทาดีน  เซทิริซีน  เฟกโซเฟนาดีน เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดอาการ ง่วงนอนได้น้อยกว่า ทั้งยังออกฤทธิ์ได้นาน จึงใช้เพียงวันละ ๑-๒ครั้ง ก็เพียงพอต่อการออกฤทธิ์ของยาทั้งวัน
ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ ยาชนิดนี้บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า สเตรียรอยด์มีทั้งชนิดฉีด ชนิดเม็ด ชนิดพ่นจมูก ชนิดสูดเข้าปอด ชนิดครีมทาผิวหนัง เป็นต้น เป็นยาที่ได้ผลดีในการรักษา แต่เมื่อมีการใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะชนิดฉีดและชนิดเม็ด เมื่อมีการใช้นานๆ จะไปกดการทำงานของไตและระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ทำให้ร่างกายมีการสะสมของน้ำเป็นปริมาณมาก ทำให้ตัวบวมน้ำ ความดันเลือดสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย มีผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น ในทางการแพทย์จึงไม่ใช้ยาสเตรียรอยด์ในกรณีทั่วไป จะเก็บไว้ใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ส่วน ยาสเตรียรอยด์ในรูปแบบชนิดพ่นจมูก ชนิดสูดเข้าปอด และชนิดครีมทาผิวหนังเป็นรูปแบบที่ได้ผลดีโดยที่ยา ไปออกฤทธิ์ ณ จุดออกฤทธิ์ของยาได้เลย ซึ่งอาจมีการดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปออกฤทธิ์ทั่วร่างกายเหมือนยาฉีดและ ยาเม็ด แต่ถูกดูดซึมได้ในปริมาณที่น้อยมาก จึงใช้ ได้อย่างปลอดภัย (ยกเว้นยาสเตรียรอยด์ ซึ่งถ้ามีการใช้ติดต่อกันนาน ก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อผิวหนังได้)
3. การรักษาด้วยวัคซีนสารก่อภูมิแพ้
การ รักษาด้วยวัคซีนสารก่อภูมิแพ้ เป็นอีกทางเลือก หนึ่งของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ แต่นิยมเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อใช้วิธีการรักษาทั้ง ๒ วิธีแรกแล้วไม่ได้ผล หรือในราย ที่มีอาการรุนแรงมาก โดยการทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้อแรก เมื่อพบสารนี้แล้วก็ค่อยๆ ฉีดสารก่อภูมิแพ้นี้ครั้งละน้อย และค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นๆ เรื่อยๆ ในระดับที่ผู้ป่วยสามารถทนได้และสร้าง ภูมิคุ้มกันต่อสารนี้ได้เป็นอย่างดี จนถึงระดับหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลามากกว่า ๖ เดือน จึงจะมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอที่จะต่อต้านสารที่ก่อภูมิแพ้ในธรรมชาติได้
ข้อเสนอแนะ
ผู้ป่วยอาจใช้อาหารเสริมเพื่อช่วยในการรักษาอาการภูมิแพ้เพราะอาหารเสริมช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของโรคได้
เช่น วิตามินซี 1000mg Acerola cherry1000mg  เป็นต้น



3 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ผมเป็นภูมิมา20ปีแพ้กุ้งแพ้อาหารทะเลแพ้แมลง ไซนัส ฝนตกจะหายใจขัดทุกครั้งทานอะไรก็ขึ้นเม็ดผื่นคันมาหายด้วยสมุนไพรพลูคาว ตอนนี้คิดว่าหายขาดแล้วทานได้ทุกอย่างไม่มีแพ้คันหวัดก็ไม่เป็นตอนนี้หายมา2ปีละ ไม่คิดว่าจะมียารักษาได้หาย ปรึกษาได้ 0910272191 line yizshok

Unknown กล่าวว่า...



แนะนำสมุนไพรพลูคาวสกัดสด 100% ทำลายเชื้อ Hiv หูดหงอนไก่ สเก็ดเงิน ริดสีดวง มะเร็ง เบาหวาน ไต ไทรอย ไวรัสตับอักเสบบี อัมพฤกษ์ อัมพาต หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภูมิแพ้

คนที่ใช้แล้วต้องบอกต่อทานแล้วอาการดีขึ้นจริง สำหรับท่านใดสนใจหรือต้องการสอบถาม
สอบถามเพิ่มเติมที่ tel. 0959279523 ID line. Aofaudio0502

admin กล่าวว่า...

https://www.facebook.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-422802711102047/

แสดงความคิดเห็น

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls